บทที่ 6 อีคอมเมิร์ซ: ตลาดดิจิตอล, สินค้าดิจิทัล

อีคอมเมิร์ซ: ตลาดดิจิตอล,สินค้าดิจิทัล

E-Commerce: Digital Markets, Digital Goods

E-Business

   ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business; เขียนแบบย่อ E-Business) คือ กระบวนการหรือขั้นตอนในการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เรียกว่าว่าองค์กรเครือข่ายร่วมในการดำเนินงานเพื่อให้เพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการทำธุรกิจมากยิ่งขึ้นเทคโนโลยีนี้จะใช้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันผ่านช่องทางโครงข่ายโทรคมนาคมจุดมุ่งหมายในการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ นั้นคือ เพื่อสร้างคุณค่าทางธุรกิจมากขึ้นและลดต้นทุนการทำธุรกิจโดยการอาศัยแรงงานคนที่น้อยในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ช่วยให้องค์กรภายนอกและภายในมีการดำเนินงานได้ง่ายมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม E- Business อาจไม่จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตหรือเว็บเสมอไป เพียงแต่กระแสความนิยมของอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิตของมนุษย์มากยิ่งขึ้น จึงทำให้องค์กรต่างๆ นำ E- Business มาใช้ในช่องทางในการขยายขอบเขตของการดำเนินธุรกิจกันมากยิ่งขึ้น
      โครงสร้างของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
1. กิจกรรมส่วนหน้า (Front Office) เป็นกิจกรรมที่พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง ซึ่งหมายถึง ส่วนของการซื้อ-ขาย หรือส่วนที่ติดต่อกับลูกค้าโดยตรง ลูกค้าในที่นี้อาจจะหมายถึงผู้บริโภค ผู้นำเข้า หรือองค์กรธุรกิจ
2. กิจกรรมส่วนหลัง (Intra-back Office) หมายถึงกิจกรรมธุรกิจที่เกิดต่อเนื่องจากส่วนแรก เพื่อนำข้อมูลจากการสั่งซื้อของลูกค้ามาประมวลผลภายในองค์กร ได้แก่ การตรวจสอบสินค้าคงคลัง การเบิกสินค้า การสั่งบรรจุหีบห่อ การสั่งผลิต การออกใบเสร็จรับเงิน การบันทึกบัญชี และรวมถึงการส่งมอบสินค้า
3. กิจกรรมกับองค์กรภายนอก (Extra-back Office) หมายถึงกิจกรรมที่ต่อเนื่องจากกิจกรรมส่วนหลัง เพื่อทำกิจกรรมทางธุรกิจติดต่อกับองค์กรภายนอก เช่น ผู้ขายวัตถุดิบ บริษัทขนส่ง และธนาคาร ทั้งนี้โดยการติดต่อผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เป็นระบบเครือข่ายสาธารณะ หรือระบบเครือข่ายเฉพาะกลุ่มซึ่งมีความปลอดภัยมากกว่าก็ได้

E-Commerce

      การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) หรือ อีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) หรือ พาณิชยกรรมออนไลน์หมายถึงการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในทุกๆช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ อินเทอร์เน็ต และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถกระทำผ่าน โทรศัพท์เคลื่อนที่ การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน การโฆษณาในอินเทอร์เน็ต แม้กระทั่งซื้อขายออนไลน์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มค่าใช้จ่าย และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทของความสำคัญขององค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้าเป็นต้น ดังนั้นจึงลดข้อจำกัดของระยะทางและเวลา ในการทำธุรกรรมลงได้
ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

A Framework for Electronic Commerce

        กรอบการทำงานของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ตามรูปแบบจำลอง แบ่งองค์ประกอบออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่

กรอบการทำงานของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1. การประยุกต์ใช้ (E-commerce Application)
     - การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ E-Retailing
     - การโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์ E-Advertisement
     - การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ E-Auctions
     - การบริการอิเล็กทรอนิกส์ E-Service
     - รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ E-Government
     - การพาณิชย์ผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ M-Commerce : Mobile Commerce
2. โครงสร้างพื้นฐาน (E-commerce Infrastructure)
   องค์ประกอบหลักสำคัญด้านเทคโนโลยีพื้นฐานที่จะนำมาใช้เพื่อการพัฒนาระบบพาณิชยอิเล็กทรอนิกส์แบ่งออกเป็น ส่วน ได้แก่
     (1)ระบบเครือข่าย Network System
     (2)ช่องทางการติดต่อสื่อสาร Communication Channel
     (3)การจัดรูปแบบและการเผยแพร่เนื้อหา Format and Content Publishing
     (4)การรักษาความปลอดภัย Security
3. การสนับสนุน (E-commerce Supporting)
   ส่วนของการสนับสนุนจะทำหน้าที่ช่วยเหลือและสนับสนุนส่วนของการประยุกต์ใช้งานให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เปรียบเสมือนเสาหลักของบ้าน ที่ทำหน้าที่ค้ำจุนให้หลังคาบ้าน อย่างไรก็ตามเสาบ้านก็ต้องอาศัยพื้นบ้านในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานเพื่อที่จะยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงต่อไป สำหรับส่วนสนับสนุนของ E-Commerce มีองค์ประกอบ 5 ส่วน ดังนี้
     (1)การพัฒนาระบบงาน E-Commerce Application Development
     (2)การวางแผนกลยุทธ์ E-Commerce Strategy
     (3)กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce Law
     (4)การจดทะเบียนโดเมนเนม Domain Name Registration
     (5)การโปรโมทเว็บไซต์ Website Promotion 
   ปัจจัยที่ทำให้ E-Commerce ประสบความสำเร็จการนำ E-commerce ไปใช้ในธุรกิจจำเป็นต้องมีสารสนเทศที่ถูกต้อง มีโครงสร้างพื้นฐานและมีระบบสนับสนุน ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จมี อย่างดังนี้
     - คน(People)หมายถึงผู้ขาย ผู้ซื้อ คนกลาง พนักงานIT และอื่นๆที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 
     - นโยบายสาธารณชน หมายถึง กฎหมาย ภาษีและนโยบายหลักๆที่สำคัญ เช่น สิทธิส่วนบุคคลที่ถูกกำหนดด้วยรัฐบาล ในที่นี้นโยบายจะรวมถึงมาตรฐานด้านเทคนิคและโปรโตคอล(Protocol)
     - การตลาดและการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เว็บไซต์เป็นสิ่งสำคัญเพื่อใช้ติดต่อกับลูกค้าและทำธุรกิจค้าขายรวมถึงการมองหาตลาดแหล่งใหม่ๆและกลยุทธ์ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์
     - พันธมิตรธุรกิจ E-commerce ถูกนำมาใช้ในการบริหาร Supply Chain หรือระหว่างคู่ค้าและพันธมิตรทางการค้า
     - บริการสนับสนุนอื่นสิ่งสำคัญ คือ การวิจัยตลาด การสร้างเนื้อหาและการบริการอื่น ๆเพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็นระบบการชำระ การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบรักษาความปลอดภัย
4. การจัดการ (E-Commerce Management)
       แบบจำลองทางธุรกิจ Business Model
The Dimensions Of E-Commerce
Pure E-commerce  คือ  การทำธุรกรรม E-commerce ในรูปแบบดิจิตอล Digital ทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนที่เริ่มจาก 
     - การสั่งซื้อสินค้า  หรือ บริการ  
     - กระบวนการชำระเงิน
     - การส่งมอบ 
ตัวอย่างเช่น การซื้อขาย โปรแกรม เพลง หรือ เกมส์  ผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยบัตรเครดิต

Partial E-commerce คือ  การทำธุรกรรม E-commerce ที่บางขั้นตอนยังอยู่ในรูปแบบกายภาพ (Physical)  เช่น การสั่งซื้อตำรา  ต้องมีการขนส่งผ่านระบบขนส่งปกติทั่วไป หรือ การชำระเงินโดยใช้วิธีโอนผ่านธนาคาร หรือ ATM  เป็นต้น

ประเภทของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

1.กลุ่มธุรกิจที่ค้ากำไร Profit Organization
     - Business to Business(B2B)
คือ รูปแบบการซื้อขายสินค้าระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ เป็นการซื้อขายทีละปริมาณมากๆมีมูลค่าการซื้อขายแต่ละครั้งเป็นจำนวนมาก เป็นการค้าส่ง เช่น ผู้ผลิตขายส่งให้กับพ่อค้าคนกลางเป็นธุรกิจนำเข้าส่งออก ชำระเงินผ่านระบบธนาคารด้วยการเปิด L/C หรือในรูปของ Bill of Exchange 
     - Business to Customer(B2C)
คือ รูปแบบการจำหน่ายสินค้าโดยตรงจากผู้ค้ากับผู้บริโภคโดยตรง เป็นการค้าปลีก
     - Customer to Customer(C2C)
เป็นรูปแบบการซื้อขาย สินค้าระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค เช่น การประกาศขายสินค้าใช้แล้ว
     - Customer to Business(C2B)
หมายถึง เป็นการดำเนินธุรกรรมระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบการในอีกรูปแบบหนึ่งที่ผู้บริโภคกลับมีสถานะเป็นผู้ค้าและมีบทบาทในการต่อรองเพื่อตั้งราคาสินค้า จากนั้นผู้ประกอบการก็จะนำราคาที่ลูกค้าเสนอมาให้กับผู้ขายปัจจัยการผลิตพิจารณาว่าสามารถจำหน่ายหรือขายได้ในราคานี้หรือไม่ หรือการที่ลูกค้าสามารถระบุตัวสินค้าหรือบริการเฉพาะเจาะจงลงไป แล้วองค์กรเป็นตัวจัดหาสินค้าหรือบริการให้ลูกค้า

2.กลุ่มธุรกิจที่ไม่ค้ากำไร Non-Profit Organization
     - Business to Government(B2G)
เป็นธุรกรรมระหว่างธุรกิจกับรัฐบาล โดยมากภาครัฐจะเป็นผู้กำหนดระเบียบที่ค่อนข้างมาก
     - Business to Employee(B2E)
การทำธุรกรรมระหว่างธุรกิจกับพนักงาน มุ่งเน้นการให้บริการแก่พนักงานในด้านต่าง ๆ เช่น ข้อมูลของสินค้าและบริการ กิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างผู้ประกอบการ องค์กร กับพนักงาน โดยอาศัยระบบเครือข่าย
     - Government to Citizen(G2C)
การทำธุรกรรมระหว่างองค์กรของรัฐกับประชาชน เป็นการทำธุรกรรมระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับประชาชนโดยไม่หวังผลกำไร แต่เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้ บริการข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน เช่น การยื่นแบบชำระภาษีของกรมสรรพากร
     - Exchange to Exchange(E2E)
การทำธุรกรรมด้านการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ เป็นช่องทางสำหรับใช้แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างองค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชน
     - Intrabusiness EC 
เป็นการทำธุรกรรมที่อาศัยระบบเครื่อข่ายอินทราเน็ต สำหรับเป็นสื่อกลางในการติดต่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า บริการ และสารสนเทศ
     - Collaborative Commerce(C-Commerce)
เป็นที่รู้จักกันในต่างประเทศได้เป็นเวลานานพอควรแล้วภายหลังจากการเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ตเนื่องจากได้สร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน(Competitive advantage)แก่บริษัทที่นำไปใช้อย่างเห็นได้ชัด อุตสาหกรรมที่ริเริ่มใช้ ได้แก่ อุตสาหกรรมรถยนต์ และอุตสาหกรรมอากาศยาน และในปัจจุบันได้แพร่ขยายไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อิเล็กทรอนิกส์ ก่อสร้าง เครื่องจักร รวมไปถึงอุตสาหกรรมบริการต่างๆ

3.ประเภทอื่นๆ ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
     - M-Commerce 
หมายถึงการดำเนินกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมหรือการเงินโดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือการค้าขายตามระบบแนวความคิดของระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce ที่ใช้อุปกรณ์พกพาไร้สายเป็นเครื่องมือในการสั่งซื้อและขายสินค้าต่างๆ ทั้งการสั่งซื้อสินค้าที่เป็นรูปธรรมหรือนามธรรม รวมทั้งการรับ-ส่งอีเมล์ หรือการทำธุรกรรมเชิงพาณิชย์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งมีความสะดวกสบาย ไม่มีข้อจำกัดในการจับจ่ายโดย M-Commerce เป็นการแตกแขนงของเทคโนโลยีที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการขยายตัวของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่ง M-Commerce จะช่วยเร่งอัตราการเติบโตให้กับการดำเนินธุรกรรมผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ได้เร็วกว่าการใช้เทคโนโลยี E-Commerce
     - Social Commerce(S-Commerce)
     - Nonbusiness E-Commerce 
เป็นการทำธุรกรรมในหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร เช่น องค์กรทางศาสนา สถานบันการศึกษาและองค์กรทางสังคม

ประเภทของสินค้าและบริการ

1. สินค้าจับต้องได้(Tangible Goods)คือ สินค้าที่มีลักษณะทางกายภาพ หรือตัวตนที่สามารถจับต้องได้ หรือมีน้ำหนัก เช่น หนังสือ ดอกไม้ รองเท้า เสื้อผ้า เป็นต้น สินค้าประเภทนี้ เมื่อลูกค้าทำการเลือกซื้อสินค้าแล้ว ผู้ขายจะต้องทำการส่งสินค้าผ่านช่องทางการขนส่งต่างๆ เพื่อให้สินค้านั้นๆ ไปให้ถึงมือลูกค้า
2. สินค้าที่จับต้องไม่ได้(Intangible Goods)หรือสินค้าดิจิทัล คือ สินค้าที่มีลักษณะเป็นสื่อดิจิทัลในรูปแบบต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นไฟล์ และสามารถส่งผ่านช่องทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ เช่น เพลง ภาพยนตร์ รูปภาพ เป็นต้น
3. บริการ (Service) คือ การให้บริการในรูปแบบต่างๆ โดยการให้บริการบางอย่างสามารถให้บริการผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือทางเว็บไซต์ได้ เช่น บริการลงประกาศรูปภาพ หรือบริการค้นหาข้อมูลสินค้า เป็นต้น

ประเภทของเว็บไซต์ EC

1. เว็บไซต์แคตตาล็อกสินค้าออนไลน์ (Online Catalog Web Site)

เป็นรูปแบบจัดทำเว็บไซต์ E-Commerce ในรูปแบบแคตตาล็อกออนไลน์ ที่มีรูปภาพและรายละเอียด สินค้าพร้อมที่อยู่เบอร์โทรติดต่อ ไม่มีระบบการชำระเงินผ่านทางเว็บไซต์ หรือระบบช้อปปิ้งการ์ด (ตะกร้าสินค้าออนไลน์) โดยหากผู้สนใจสินค้าก็เพียงโทรสอบถามและสั่งซื้อสินค้าได้ เช่น 
www.tarad.com
2.ร้านค้าออนไลน์ (E-Shop Web Site)

เป็นรูปแบบเว็บไซต์ E-Commerce สมบูรณ์แบบ ที่มีทั้งระบบการจัดการสินค้า ระบบตะกร้าสินค้า (Shopping Cart) ระบบการชำระเงิน รวมถึงการขนส่งสินค้า ครบสมบูรณ์แบบ ทำให้ผู้ซื้อสามารถสั่งซื้อสินค้าและทำการชำระเงินผ่านเว็บไซต์ได้ทันที โดยการชำระเงินส่วนใหญ่สามารถชำระเงินผ่าน บัตรเครดิต เป็นส่วนมาก เช่น 

www.pantipmarket.com

3. การประมูลสินค้า (Auction)

เป็นเว็บไซต์E-Commerce ที่มีรูปแบบของการนำสินค้าของไปประมูลขายกัน โดยจะเป็นการแข่งขันใน การเสนอราคาสินค้า หากผู้ใดเสนอราคาสินค้าได้สูงสุดในช่วงเวลาที่กำหนด ก็จะชนะการประมูลและสามารถซื้อสินค้าชิ้นนั้นไปได้ ด้วยราคาที่ได้กำหนดไว้ โดยส่วนใหญ่สินค้าที่นำมาประมูล หากเป็นสินค้าใหม่ ซึ่งหลังการประมูลสินค้าจะมีราคาที่ไม่สูงกว่าราคาท้องตลาด ยกเว้นสินค้าเก่า บางประเภท หากยิ่งเก่ามากยิ่งมีราคาสูง เช่น ของเก่า ของสะสม เป็นต้น เช่น http://auction.tarad.com, www.ebay.com
www.ebay.com
4.การประกาศซื้อ-ขาย (E-Classified)

เป็นรูปแบบเว็บไซต์ E-Commerce ที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจประกาศความต้องการ ซื้อ-ขาย สินค้าของตนได้ภายในเว็บไซต์ โดยเว็บไซต์จะทำหน้าที่เหมือนกระดานข่าวและตัวกลางในการแสดงข้อมูลสินค้าต่างๆ และหากมีคนสนใจสินค้าที่ประกาศไว้ ก็สามารถติดต่อตรงไปยังผู้ประกาศได้ทันทีจากข้อมูลที่ประกาศอยู่ภายในเว็บไซต์ โดยส่วนใหญ่จะมีการแบ่งหมวดหมู่ของประเภทสินค้าเอาไว้ เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าไปเลือกซื้อ-ขายสินค้าในเว็บไซต์ เช่น www.ThaiSecondhand.com
www.ThaiSecondhand.com
5.ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace)

เป็นเว็บไซต์ E-Commerce ที่มีรูปแบบเป็นตลาดนัดขนาดใหญ่ โดยภายในเว็บไซต์จะมีการรวบรวมเว็บไซต์ของร้านค้าและบริษัทต่างๆมากมายโดยมีการแบ่งหมวดหมู่ของสินค้าเอาไว้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าไป ดูสินค้าภายในร้านค้าต่างๆ ภายในตลาดได้อย่างง่ายดายและสะดวก โดยรูปแบบของตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ บางแห่งมีการแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบ ตามลักษณะของสินค้าที่มีอยู่ภายในตลาดแห่งนั้น
www.thaitambon.com

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์(E-Marketing)


    การตลาดบนอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า Internet Marketing เป็นการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กรเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในด้านของการตลาดโดยครอบคลุมทั้งมุมมองภายในและภายนอกองกรค์ ดังนั้นจึงทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ได้มาจากการใช้เทคโนโลยี ทำให้เกิดการลงทุนทำตลาดบนอินเทอร์เน็ต อย่างเช่น เว็บไซต์และจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

หลักการตลาด 6 P ของ E-Commerce 

 1.Product แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
     1) สินค้าดิจิตอล(Digital Product)เช่น ซอฟแวร์ เพลง หนังสือดิจิตอล ซึ่งส่งสินค้าได้โดยผ่านอินเทอร์เน็ต
     2) สินค้าที่ไม่ใช่ดิจิตอล(Phyical Product)เช่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ ซึ่งต้องมีการจัดส่งผ่านช่องทางการขนส่งให้ถึงมือผู้ซื้อ
2. Price การวางขายสินค้าบน e-Commerce จะมีราคาถูกหรือแพง ขึ้นอยู่กับสินค้า ซึ่งเมื่อนำมารวมกับค่าขนส่งแล้ว ถ้ามีราคาเพิ่มมากขึ้น อาจะทำให้ความน่าสนใจลดลงหรือลูกค้าเปลี่ยนใจได้ อาจใช้วิธีปรับราคาให้ต่ำ เมื่อรวมค่าขนส่งแล้วยังคงต่ำกว่าหรือเท่ากับตลาด หากไม่สามารถปรับเรื่องราคาให้ เน้นความสะดวกจากการสั่งซื้อ การส่งเสริมการขาย หากราคาที่แจ้งยังไม่รวมค่าขนส่ง ต้องบอกให้ลูกค้าทราบว่ายังไม่ได้รวมค่าจัดส่ง และให้ข้อมูลด้านการจัดส่งด้วย
3. Place การนำเสนอเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้สนใจเข้าชมและเลือกใช้บริการ ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตต่าง ๆ ในประเทศและต่างประเทศ Search Engine
4. Promotion การส่งเสริมการขายเป็นหลักการสำคัญที่จะดึงดูดความสนใจของลูกค้าให้เกิดการติดตามอย่างต่อเนื่องและสั่งซื้ออย่างสม่ำเสมอ โดยมีการเปลี่ยนแปลงเป็นประจำ การให้ส่วนลดตามปริมาณการสั่งซื้อ ให้สิทธิแก่สมาชิก หรือลูกค้าประจำ
5. Personalization การให้บริการส่วนบุคคล เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเว็บไซต์กับลูกค้าที่เป็นสมาชิกและไม่เป็นสมาชิก การทักทาย การให้ความรู้สึกและให้การปฏิบัติที่ดี
6. Privacy สิ่งที่ลูกค้าต้องการมากที่สุด คือ การรักษาความเป็นส่วนตัว การรักษาความเป็นส่วนตัวจึงเป็นสิ่งที่ธุรกิจต้องยึดมั่น เป็นจรรยาบรรณต่อลูกค้า โดยมีการปฏิบัติตามประกาศนโยบายรักษาความเป็นส่วนตัวที่ให้ไว้ จะต้องให้ลูกค้าเป็นผู้เข้าถึงและสามารถแก้ไขได้เพียงผู้เดียว ตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าจากสถาบัน หน่วยงานที่ไว้วางใจและเชื่อถือได้

ขั้นตอนการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

       ขั้นตอนการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1.การหาข้อมูล/การโฆษณาประชาสัมพันธ์(Searching and Advertising)
  • การให้ข้อมูลข่าวสาร ที่ต้องการสื่อสารไปยังผู้รับสาย ในฝั่งของผู้ส่งสารจะต้องสื่อสารให้ได้ประสิทธิภาพ คือการสร้างข้อมูลให้มีคุณภาพ สามารถสืบค้นได้ง่าย อ่านแล้วเข้าใจง่าย ส่วนผู้รับสารก็ต้องการความสะดวกในการรับสารที่ต้องการ และต้องมีความเข้าใจเพื่อประกอบการตัดสินใจในการที่จะซื้อหรือไม่ซื้อสินค้าต่อไป
  • การโฆษณาประชาสัมพันธ์ อาจทำได้โดย
     (1)การใช้เว็บไซต์ของตนเองในการทำประชาสัมพันธ์โดยให้ลูกค้าสมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับข่าวสารรายการสินค้าใหม่ หรือโปรโมชั่นใหม่ที่น่าสนใจการมีกิจกรรมพิเศษ การมีเว็บบอร์ดเพื่อกระตุ้นให้ผู้ชมกลับมายังเว็บไซต์อีก
    (2)การผระชาสัมพันธ์บน World Wide Web เช่น การโฆษณาโดยใช้แบนเนอร์ การแลกเปลี่ยนลิงค์(Link)หรือแบนเนอร์กับเว็บไซต์อื่นๆ การจดทะเบียนกับ(Search Engine)การมีเว็บไซต์อยู่ในไดเร็กทอรี(Directory)
     (3)การประชาสัมพันธ์ในที่อื่นๆบนอินเทอร์เน็ต ได้แก่ Newsgroup คือแหล่งชุมนุมของผู้ที่สนใจในเรื่องราวเดียวกับบนอินเทร์เน็ต
2.การทำธุรกรรม(Transaction)หลังจากสืบค้นข้อมูล และได้รับข่าวสารจากการประชาสัมพันธ์แล้ว ลูกค้าจะต้องตัดสินใจว่าจะซื้อสินค้า หรือไม่ซื้อสินค้าต่อไป ถ้าตัดสินใจว่าจะซื้อจะเริ่มตั้งแต่การทำคำสั่งซื้อ การชำระเงินค่าสินค้า ไปจนถึงการจัดส่งสินค้า
3.การทำคำสั่งซื้อ(Ordering)เมื่อได้ข้อมูลเพียงพอและต้องการจะทำการซื้อสินค้าหรือจะทำธุรกรรมกันแล้ว ในฝั่งผู้ขายต้องมีระบบการรับคำสั่งซื้อที่มีประสิทธิภาพรองรับอยู่ แบ่งเป็น
     3.1 ระบบตะกร้าสินค้า (Shopping Carts)มีการอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ เช่น แสดงรายละเอียดที่ดูได้ง่ายว่าได้ทำการเลือกสินค้าใดๆไว้บ้างแล้วในตะกร้า รวมแล้วค่าสินค้าเป็นเท่าไร ภาษีค่าจัดส่งต่างๆ ควรแสดงให้เห็นด้วย
     3.2 ระบบการกรอกข้อมูลลงแบบฟอร์มมีความยืดหยุ่นในการดำเนินงานในการสั่งซื้อสินค้าและบริการมากกว่าระบบตะกร้าสินค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสินค้าและบริการประเภทที่ต้องการรายละเอียดที่ปลีกย่อยมากๆ
     3.3 สั่งซื้อผ่านทาง E-mail
     3.4 สั่งซื้อผ่านทาง Social Network

ลักษณะการใช้งานระบบตะกร้าสินค้า

4.การชำระเงิน(Payment) เป็นขั้นตอนที่สำคัญและต้องการความปลอดภัย จึงควรมีวิธีการให้ลูกค้าสามารถใช้บริการให้มากที่สุดที่สะดวกกับทั้งทางผู้ค้าและลูกค้า แบ่งวิธีการชำระเงินเป็น
     (1)ระบบการชำระเงินแบบออนไลน์ ลูกค้าสามารถที่จะชำระเงินผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้โดยตรงผ่านทาง
                  - บัตรเครดิต (Credit Card)
                  - เงินสดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Card)
                  - เช็คอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Cheque)
                  - ชำระเงินผ่านผู้ให้บริการชำระเงิน เช่น Paypal, Paysbuy

     (2)การชำระเงินแบบออฟไลน์ ใช้วิธีอื่นในการชำระเงินแทน เช่น

                  - ชำระเงินกับพนักงานส่งสินค้า
                  - โอนเงินผ่านระบบธนาคารในประเทศ - ผ่านบัญชีธนาคาร, ATM
                  - โอนเงินระหว่างประเทศ - Western Union
                  - โอนเงินผ่านที่ทำการไปรษณีย์
                  - ชำระที่ทำการไปรษณีย์
                  - ชำระผ่าน Internet Banking เช่น บริการ Mobile banking ของธนาคาร
               - ชำระผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Payment) โดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ใช้เชื่อมต่อข้อมูลบริการ Mobile Payment เช่น การส่ง SME ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ หรือเทคโนโลยี RFID (Radio-Frequency Identification) ซึ่งจะใช้เครื่องรับสัญญาณวิทยุระยะใกล้ ณ จุดขาย ส่งข้อมูลไปยังชิพหรือสมาร์ทการ์ดในโทรศัพท์มือถือ โดยจะเรียกเก็บเงินรวมกับค่าโทรศัพท์ที่ต้องชำระ เช่น บริการ mPay และ True Money
                  - การชำระเงินจำนวนเล็กน้อย (Micro Payment) เป็นรูปแบบการชำระเงินโดยวงเงินที่ใช้ชำระค่าสินค้าและบริการมีจำนวนหรือราคาไม่มาก เช่น การชำระค่าโหลด Sticker 30 บาท
                - การชำระผ่านผู้ให้บริการชำระเงิน (Payment Gateway) เป็นการให้บริการที่มีผู้ให้บริการเป็นตัวกลางในการชำระเงินระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย เพื่อเอื้ออำนวยให้เกิดการจ่ายเงินที่สะดวกยิ่งขึ้น เช่น ระบบการชำระเงินของ Paypal และ Paysbuy
                                                               ระบบการชำระเงินของ Paypal
5.การจัดส่งสินค้า (Delivery) การจัดส่งสินค้าขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า การจัดส่งจึงมี 2 รูปแบบ คือ
     (1)สินค้าที่จับต้องได้ มีวิธีการจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าได้เลือกหลายวิธี
                  -จัดส่งสินค้าโดยพนักงานจัดส่งสินค้า (Cash On Delivery : C.O.D.)
                  -จัดส่งสินค้าโดยผ่านทางไปรษณีย์ ทั้งพัสดุไปรษณีย์ในประเทศและต่างประเทศ มีระบบติดตามการฝากส่ง "Track & Trace" ที่เว็บไซต์ www.Thailandpost.co.th
                  -ใช้บริการของบริษัทขนส่งเอกชน เช่น www.Transport.co.th, www.Fedex.com
     (2)สินค้าที่จับต้องไม่ได้ การจัดส่งจะทำการส่งผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ดาวน์โหลดเพลง/ข้อมูล การเป็นสมาชิกดูข้อมูลของเว็บไซต์ต่าง ๆ เป็นต้น

www.Thailandpost.co.th
www.Fedex.com

การตลาดแบบดั่งเดิมกับการตลาดดิจิทัล (Traditional vs Digital Marketing)

      การตลาดแบบดั่งเดิม (Traditional Marketing) เป็นการตลาดที่จะไม่มีการใช้อินเทอร์เน็ตเข้ามาช่วยในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลต่างๆ เพราะจะเป็นการสื่อสารเพียงด้านเดียว เช่น การโฆษณาผ่านโทรทัศน์, วิทยุ,สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ,ป้ายตามสถานที่ต่างๆ และลูกค้าจะไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นอะไรได้ เพราะเป็นการรับสารอยู่ฝ่ายเดียวซึ่งการทำการตลาดแบบดั่งเดิมนี้จะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและการทำการตลาดค่อยข้างสูง ใช้ระยะเวลาในการทำการตลาดเป็นระยะเวลานานกว่าจะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ วิธีการวัดผลลัพธ์ไม่แม่นยำและรู้ผลในทันที แต่วิธีนี้จะสามารถสร้างความน่าเชื่อถือได้มากกว่าการทำการตลาดแบบออนไลน์เพราะลูกค้าจะรู้สึกว่ามีตัวตนจริงๆ
   การตลาดแบบดิจิทัล (Digital Marketing) เป็นการตลาดที่ใช้อินเทอร์เน๊ตเข้ามาช่วยในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้ถึงลููกค้าได้อย่างง่ายดายและลูกค้าสามารถที่จะสื่อสารกับผู้ประกอบการได้ทันที ทำให้ผู้ประกอบการสามารถรับฟังข้อคิดเห็นเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการของเราและนำไปปรับปรุงได้ทันที โดยค่าใช้จ่ายในการทำการตลาดด้วยวิธีนี้จะค่อยข้างต่ำกว่าการทำการตลาดแบบดั่งเดิม อีกทั้งข้อมูลต่างๆสามารถอัพเดทได้ตลอดเวลาด้วยระยะเวลาที่สั้นกว่า สามารถวัดผลได้แบบ real-time และแม่นยำกว่า แต่สิ่งที่เป็นข้อเสียเปรียบวิธีแบบดั่งเดิมก็คือ ในเรื่องของความน่าเชื่อถือ เพราะข้อมูลที่อยู่บนโลกออนไลน์มีอยู่เยอะมาก ทำให้ลูกค้าต้องใช้เวลาในการศึกษาและตัดสินใจที่จะเชื่อข้อมูลในแต่ละแหล่งพอสมควรแต่ทั้งนี้การตลาดแบบดิจิทัลจะทำให้ธุรกิจของเราเป็นที่รู้จักได้อย่างรวดเร็วเป็นวงกว้างเพราะถ้าการตลาดของเรามีเนื้อหาที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของเรา ก็จะทำให้เกิดกระแสของการบอกต่อๆกันจึงทำให้คนรู้จักเราได้ง่ายขึ้น

ความแตกต่างระหว่างตลาดแบบดั่งเดิมกับการตลาดดิจิทัล

การพัฒนาแผนที่แสดงสินค้าอีคอมเมิร์ซ



ที่มา
: https://th.wikipedia.org/wiki/ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
: http://aruneeboonkasem.blogspot.com
: https://www.dreamrev.info/single-post/2017/04/25/-Traditional-vs-Digital-Marketing

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทที่ 3 โครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ

บทที่ 2 องค์กร การจัดการ การตัดสินใจ

บทที่ 1 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ