บทที่ 3 โครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ

โครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ
Information Technology Infrastructure

ระบบคอมพิวเตอร์
               ระบบคอมพิวเตอร์ ( Computer System ) คือองค์ประกอบที่จะทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ถ้าขาดองค์ประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งแล้วเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้

ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
                 ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 5 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล ผู้ใช้ และกระบวนการ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับองค์ประกอบของระบบสารสนเทศ ดังนี้
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) 
              ฮาร์ดแวร์ คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้รวมถึงอุปกรณ์เชื่อมต่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ ด้วย ฮาร์ดแวร์มีหลายประเภท ทำหน้าที่แตกต่างกันตามระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ 

ซอฟต์แวร์ (Software)
            ซอฟต์แวร์ คือโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ทำให้ฮาร์ดแวร์ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ ซอฟต์แวร์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ และ ซอฟต์แวร์ประยุกต์

            1) ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ซอฟต์แวร์ระบบ คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ จัดการทางด้านอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระ การแสดงผลบนจอภาพ การนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ การดูแล การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม การเรียกค้นข้อมูล การสื่อสารข้อมูล ซอฟต์แวร์ระบบจึงหมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ดูแลจัดการอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในระบบ ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือ ระบบปฏิบัติการ (operating system) เช่น เอ็มเอสดอส ยูนิกซ์ โอเอสทู วินโดวส์ เป็นต้น
            ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แบ่งได้เป็นระบบปฏิบัติการที่ทำงานเพียงงานเดียวในเวลาหนึ่ง เช่น ซีพีเอ็ม เอ็มเอสดอส พีซีดอส แอปเปิ้ลดอส และระบบปฏิบัติการที่ทำงานพร้อม ๆ กันหลายๆ งานในเวลาเดียวกันเรียกว่าระบบหลายภารกิจ (multitasking system) เช่น โอเอสทู วินโดวส์ 95 


A screenshot of CP/M-86.

                             1. ซีพีเอ็ม (Control Program/Microcomputer : CP/M)
                                        ซีพีเอ็ม (Control Program/Microcomputer : CP/M) จัดเป็นระบบปฏิบัติการรุ่นแรก ๆที่นำมาใช้งานกับเครื่องไมโคร  คอมพิวเตอร์ขนาด 8 บิต ซึ่งปัจจุบันนี้ล้ำสมัยแล้ว หลังจากเครื่องไมโคร คอมพิวเตอร์ได้ขยายมาเป็นเครื่องขนาด 16 บิต ก็ได้มีการเขียนระบบ ปฏิบัติการขึ้นใหม่ คือ เอ็มเอสดอส (Microsoft Disk Operating System : MS-DOS) พีซีดอส (Personal Computer Disk Operating  System : PC-DOS) ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอสนี้ได้รับความนิยมนำมาใช้งานกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ระดับพีซี 



ภาพแสดงหน้าจอการบูทเครื่องด้วยระบบปฏิบัติการดอส

                             2. เอ็มเอสดอส

                                 เอ็มเอสดอส มีรากฐานมาจากระบบปฏิบัติการซีพีเอ็ม โดยการเขียนโปรแกรมสำหรับใช้งานกับไมโครโพรเซสเซอร์ตระกูลอินเทล ขนาด 16 บิต เบอร์ 8088 ขึ้นใหม่ที่ยังคงรูปแบบลักษณะคำสั่งคล้ายของเดิม เมื่อมีการปรับปรุงเพิ่มขยายในเวลาต่อมาเป็นรุ่น 2.0 จึงได้มีการพัฒนาขีดความสามารถให้สูงขึ้นอีกมากมาย โดยในรุ่น 2.0 นี้จะมีรูปแบบคำสั่งที่คล้ายคลึงกับคำสั่งในระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ โดยเฉพาะด้านการจัดการข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ที่จัดเป็นโครงสร้างต้นไม้ของการ แบ่งระบบแฟ้มเป็นระบบย่อย


ภาพหน้าจอ วินโดวส์ 95

                             3. ระบบปฎิบัติการโอเอสทู และวินโดวส์ 95

                                        ระบบปฏิบัติการโอเอสทู และวินโดวส์ 95 ถือเป็นระบบ ปฏิบัติการที่ออกแบบและสร้างมาใช้กับเครื่องไมโคร คอมพิวเตอร์ ตระกูลพีเอสทูของบริษัทไอบีเอ็มจำกัดเป็นระบบปฏิบัติการที่นำมาชดเชยขีดจากัดของเอ็มเอสดอสเดิม ด้วยการเพิ่มลักษณะพิเศษของการทำงานหลายงานพร้อมกัน เทคนิคการเรียกใช้คำสั่งเป็นเมนูและสัญรูป (icon)


ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ | Operating System


                             4. ระบบปฎิบัติการยูนิกซ์

                                        ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาและออกแบบสำหรับงานด้านวิชาการและประยุกต์ใช้ทางด้านวิทยาศาสตร์ บนเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ แต่ในภายหลังก็ได้ปรับปรุงไปใช้บนเครื่องเกือบทุกระดับ รวมถึงเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ด้วย ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบใหญ่และซับซ้อนสามารถให้ผู้ใช้หลายรายทำงานหลายงานพร้อมกัน อย่างไรก็ตามจะมีขีดจำกัดที่หน่วยความจำของระบบ 




             2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application software) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือ ซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเพื่อประยุกต์กับงานที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์จัดเก็บภาษี ซอฟต์แวร์สินค้าคงคลังซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์กราฟิก ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เป็นต้น การทำงานใด ๆ โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์จำเป็นต้องทำงานภายใต้สิ่งแวดล้อมของซอฟต์แวร์ระบบด้วย ตัวอย่างเช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำต้องทำงานภายใต้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอสหรือวินโดวส์ เป็นต้น


                  ซอฟต์แวร์ประยุกต์ยังแบ่งแยกออกเป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นใช้งานเฉพาะและซอฟต์แวร์สำเร็จ

                            1. ซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นใช้งานเฉพาะ คือ ซอฟต์แวร์ที่เขียนตามความต้องการของผู้ใช้หรือเฉพาะงานใดงานหนึ่ง ผู้เขียนต้องเข้าใจงานและรายละเอียดของการประยุกต์นั้นเป็นอย่างดี เช่น ซอฟต์แวร์สำหรับงานจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากร ซอฟต์แวร์งานธนาคาร

                       2. ซอฟต์แวร์สำเร็จ เป็นซอฟต์แวร์ที่มีบริษัทผู้ผลิตได้สร้างขึ้น และวางขายทั่วไปผู้ใช้สามารถหาซื้อมาประยุกต์ใช้งานทั่วไปได้ เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงานซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล
ผู้ใช้
        ผู้ใช้ คือ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ใช้งาน โต้ตอบ ควบคุม และดูแลคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้ที่ดีควรมีความรู้และความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานได้ดียิ่งขึ้น ผู้ใช้สามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ 5 ประเภท คือ ผู้ใช้งานตามบ้าน ผู้ใช้งานตามสานักงานขนาดเล็กผู้ใช้งานที่ต้องการความคล่องตัว ผู้ใช้งานตามสำนักงานใหญ่ และผู้ใช้งานสมรรถนะสูง

 ข้อมูล
             ข้อมูลในที่นี้จะมีความหมายรวมถึงข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผล และสารสนเทศที่เป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว เมื่อนำมาใช้ในระบบคอมพิวเตอร์แล้วจะถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลหรือสัญญาณดิจิทัล โดยมีชนิดของข้อมูล รูปแบบของแฟ้มข้อมูล และประเภทของแฟ้มข้อมูล ดังนี้
             ชนิดของข้อมูล ข้อมูลจะถูกเรียงลำดับจากเล็กไปใหญ่ ได้แก่ บิต ตัวอักษร เขตข้อมูลหรือฟิลด์ ระเบียนข้อมูล แฟ้มข้อมูล และฐานข้อมูล ข้อมูลแต่ละบิตจะมีลักษณะเฉพาะของตัวเองซึ่งสามารถแบ่งเป็นชนิดต่างๆ ตามลักษณะได้ดังนี้
                        1. เลขจำนวนเต็ม (Integer) 
                        2. ค่าตรรกะ (Boolean or Logical) 
                        3. ตัวอักษร (Character) 
                        4. สายอักขระ (String) 
                        5. เลขจำนวนจริง (Floating-Point Number) 
                        6. วันและเวลา (Date/Time) 
                        7. ไบนารี (Binary) 

กระบวนการ 
              คือ ขั้นตอนการทำงาน เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานจนกระทั่งได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของผู้ใช้กระบวนการทำงานที่ดีจะต้องเกิดจากผู้ใช้มีความรู้ ความสามารถในการใช้งาน ข้อมูลมีความถูกต้องฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ 

หลักการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์

ขั้นที่ 1 รับข้อมูล (input)
             ขั้นที่ 1 รับข้อมูล (input) เป็นการนำข้อมูลหรือคำสั่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผ่านอุปกรณ์รับข้อมูลต่าง ๆ เช่น การพิมพ์ข้อความ เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้แป้นพิมพ์ การบันทึกเสียงโดยผ่านไมโครโฟน
                


ขั้นที่ 2 ประมวลผลข้อมูล (process)
              ขั้นที่ 2 ประมวลผลข้อมูล (process) เป็นการนำข้อมูลมาประมวลผลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมเพื่อให้ได้ผลลัพธ์หรือสารสนเทศ เช่น การนำข้อมูลที่รับเข้ามาหาผลรวม เปรียบเทียบคำนวณเกรดเฉลี่ย เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์สำหรับประมวลที่สำคัญ คือ หน่วยประมวลผลกลาง

 ขั้นที่ 3 จัดเก็บข้อมูล (storage) 


              ขั้นที่ 3 จัดเก็บข้อมูล (storage) เป็นการจัดเก็บข้อมูลชั่วคราวในขณะที่มีการประมวลผลแรม รวมถึงจัดเก็บข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลลงในอุปกรณ์เก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) แฟลชไดร์ฟ (flash drive) เป็นต้น                                                      
                                                              


 ขั้นที่ 4 แสดงผลข้อมูล (output) 

      ขั้นที่ 4 แสดงผลข้อมูล (output) เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจ กล่าวคือ อยู่ในรูปแบบของข้อความ ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ เสียง โดยผ่านอุปกรณ์แสดงผลต่างๆเช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ ลำโพง เป็นต้น

                       

สรุป หลักการทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์
         จากขั้นตอนการทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ทั้ง 4 ขั้นตอน จะมีการทำงานประสานกัน โดยเริ่มจากการรับข้อมูลและคำสั่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ จากนั้นข้อมูลและคำสั่งซึ่งอยู่ในรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจจะถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจและส่งไปจัดเก็บข้อมูลไว้ชั่วคราว จากนั้นเมื่อมีคำสั่งให้ประมวลผล ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บชั่วคราวจะถูกส่งไปประมวลผล เป็นผลลัพธ์หรือสารสนเทศ ซึ่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศจะถูกส่งไปแสดงผลลัพธ์ตามที่ผู้ใช้ต้องการ โดยผลลัพธ์จากการประมวลผลจะถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจได้ และหากต้องการเก็บผลลัพธ์ไว้ใช้ในภายหลัง ผลลัพธ์จะถูกนำไปจัดเก็บ สำหรับการเรียกใช้ได้อย่างถาวร การทำงานทั้ง 4 ขั้นตอนดังกล่าว เรียกว่า วงจรการทำงานขั้นพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ (IPOS cycle)

หน้าที่การทํางานของส่วนประกอบคอมพิวเตอร์
1) หน่วยประมวลผลกลาง และส่วนประกอบของหน่วยประมวลผลกลาง
             หน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) หรือย่อว่า ซีพียู (CPU) เป็นวงจรอิเลคทรอนิกส์ที่ทำงาน หรือประมวลผล ตามชุดของคำสั่งเครื่องจากซอฟต์แวร์ คำนี้เริ่มใช้ในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ต้นศตวรรษ 1960s
           หน่วยประมวลผลเปรียบเสมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ในการทำหน้าที่ตัดสินใจหรือคำนวณจากคำสั่งที่ได้รับมา เช่น การเปรียบเทียบ การกระทำการทางคณิตศาสตร์ ฯลฯ


ส่วนประกอบของหน่วยประมวลผลกลาง
     1. หน่วยควบคุม (Control Unit: CU) ทำหน้าที่ในการควบคุมและสั่งการให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ ทั้งการรับข้อมูล การแสดงผลข้อมูล เป็นต้น
     2. หน่วยตรรกะ (Arithmetic Logic Unit: ALU) ทำหน้าที่ในการคำนวณ เปรียบเทียบข้อมูลต่างๆ โดยที่จะทำงานประสานกับหน่วยความจำหลัก (ซึ่งจะกล่าวในลำดับถัดไป)
สำหรับการทำงานของอุปกรณ์ประมวลผลข้อมูลจะมีจังหวะสัญญาณนาฬิกาของเครื่องเป็นตัวควบคุมการทำงาน  โดยพิจารณาการทำงานว่าสามารถทำงานได้กี่ครั้งต่อรอบของเวลา  จะใช้หน่วยของ เฮิร์ตซ (Hertz) ซึ่งเทียบว่าทำงานได้กี่งานต่อหนึ่งวินาที

อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผล

ซีพียู (CPU) 
        หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ ที่มีความสำคัญมากที่สุด ของฮาร์ดแวร์เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์อินพุต ตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วย
หน่วยความจำหลัก (Primary Storage) แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
     1) หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory – ROM)
          เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึกซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ) เป็นความจำที่ซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากน่วยความจำ (nonvolatile) โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีกแล้วเช่น เก็บโปรแกรมไบออส (Basic Input output System : BIOS) หรือเฟิร์มแวร์ ที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ใช้เก็บโปรแกรมการทำงานสำหรับเครื่องคิดเลขใช้เก็บโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ที่ทำงานเฉพาะด้าน
     2)  หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้(Random Access Memory – RAM)



        เป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็น หน่วยความจำ ชนิดนี้จะสามารถเก็บข้อมูลได้ เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้นเมื่อใดก็ตามที่ไม่มีกระแสไฟฟ้า มาเลี้ยง ข็อมูลที่อยู่ภายในหน่วยความจำชนิดจะหายไปทันที หน่วยควมจำแรม ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าข้อมูล (Input) หรือ การนำออกข้อมูล (Output) โดยที่เนื้อที่ของหน่วยความจำหลักแบบแรมนี้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ
1. Input Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลนำเข้าที่ได้รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเข้าโดย ข้อมูลนี้จะถูกนำไปใช้ในการประมวลผลต่อไป
2. Working Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลที่อยู่ในระหว่างการประมวลผล
3. Output Storage Area เป็นส่วนที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อรอที่จะถูกส่งไปแสดงออก ยังหน่วยแสดงผลอื่นที่ผู้ใช้ต้องการ
4. Program Storage Area เป็นส่วนที่ใช้เก็บชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการจะส่งเข้ามา เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่ง ชุดดังกล่าว หน่วยควบคุมจะทำหน้าที่ดึงคำสั่งจากส่วน นี้ไปที่ละคำสั่งเพื่อทำการแปลความหมาย ว่าคำสั่งนั้นสังให้ทำอะไร จากนั้นหน่วยควบคุม จะไปควบคุมฮาร์ดแวร์ที่ต้องการทำงานดังกล่าวให้ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ

เมนบอร์ด (Mainboard, mother board)



           เมนบอร์ด (Mainboard, mother board) หรือ แผงวงจรหลัก เป็นหัวใจสำคัญที่สุดที่อยู่ภายในเครื่อง เมื่อเปิดฝาเครื่องออกมาจะเป็นแผงวงจรขนาดใหญ่วางนอนอยู่ นั่นคือส่วนที่เรียกว่า “เมนบอร์ด”
การทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง
       - อ่านชุดคำสั่ง (fetch) การอ่านชุดคำสั่งขึ้นมา 1 คำสั่งจากโปรแกรม ในรูปของรหัสเลขฐานสอง (Binary Code from on-off of BIT)
         - ตีความชุดคำสั่ง (decode) การตีความ 1 คำสั่งนั้นด้วยวงจรถอดรหัส (Decoder circuit) ตามจำนวนหลัก (BIT) ว่ารหัสนี้จะให้วงจรอื่นใดทำงานด้วยข้อมูลที่ใด
         - ประมวลผลชุดคำสั่ง (execute) การทำงานตาม 1 คำสั่งนั้น คือ วงจรใดในไมโครโปรเซสเซอร์ทำงาน เช่น วงจรบวก วงจรลบ วงจรเปรียบเทียบ วงจรย้ายข้อมูล ฯลฯ
         - อ่านข้อมูลจากหน่วยความจำ (memory) การติดต่อกับหน่วยความจำ การใช้ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยจำชั่วคราว (RAM, Register) มาใช้ในคำสั่งนั้นโดยอ้างที่อยู่ (Address)
         - เขียนข้อมูล/ส่งผลการประมวลกลับ (write back) การเขียนข้อมูลกลับ โดยมีหน่วยจำ Register ช่วยเก็บที่อยู่ของคำสั่งต่อไป ภายหลังมีคำสั่งกระโดดบวกลบที่อยู่
การทำงานแบบขนานในระดับคำสั่ง (ILP)
      โดยการทำงานเหล่านี้ถ้าเป็นแบบพื้นฐานก็จะทำงานกันเป็นขั้นตอนเรียงตัวไปเรื่อย ๆ แต่ในหลักความเป็นไปได้คือการทำงานในแต่ละส่วนนั้นค่อนข้างจะเป็นอิสระออกจากกัน จึงได้มีการจับแยกกันให้ทำงานขนานกันของแต่ละส่วนไปได้ หลักการนี้เรียกว่า pipeline เป็นการทำการประมวลผลแบบขนานในระดับการไหลของแต่ละคำสั่ง (ILP: Instruction Level Parallelism) โดยข้อมูลที่เป็นผลจากการคำนวณของชุดก่อนหน้าจะถูกส่งกลับไปให้ชุดคำสั่งที่ตามมาในช่องทางพิเศษภายในหน่วยประมวลผลเอง


การทำงานของหน่วยประมวลผลกลางแบบมี pipeline และเป็น superscalar
การทำงานแบบขนานในระดับกลุ่มชุดคำสั่ง (TLP)
   การทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์แต่ละโปรแกรมสามารถแบ่งตัวออกได้เป็นระดับกลุ่มชุดคำสั่ง (Thread) โดยในแต่ละกลุ่มสามารถทำงานขนานกันได้ (TLP: Thread Level Parallelism) ในระดับ 2
2) หน่วยความจําหลัก และประเภทหน่วยความจําหลัก
หน่วยความจำ คือ อุปกรณ์เก็บสถานะข้อมูลและชุดคำสั่ง เพื่อการประมวลผลของคอมพิวเตอร์
         หน่วยความจำแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ หน่วยความจำถาวร และ หน่วยความจำชั่วคราว ตัวอย่างของหน่วยความจำถาวรก็เช่น หน่วยความจำแบบแฟลช และหน่วยความจำพวกรอมตัวอย่างของหน่วยความจำชั่วคราวก็คือพวกหน่วยความจำหลัก เช่น DRAM (แรมชนิดที่นิยมใช้ในปัจจุบัน) และแคชของซีพียูซึ่งทำงานได้รวดเร็วมาก (ปกติเป็นแบบ SRAM ซึ่งเร็วกว่า กินไฟน้อยกว่า แต่มีความจุต่อพื้นที่น้อยกว่า DRAM)
หน่วยความจำภายนอก
         หน่วยความจำภายนอก (external memory) หมายถึง สื่อต่างๆ ที่ใช้เป็นตัวเก็บข้อมูลเพิ่มจากหน่วยความจำหลัก (main memory) เพราะหน่วยความจำหลักในคอมพิวเตอร์นั้นไม่มีพื้นที่พอจะเก็บข้อมูลจำนวนมากไว้พร้อมกันได้หมด (เนื่องจากราคาต่อพื้นที่สูง) เพื่อช่วยประหยัดเราจึงเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำรอง (เช่น จานบันทึกแบบแข็ง) นี้ก่อน เพราะราคาต่อพื้นที่ถูกกว่ามากและสามารถเก็บข้อมูลได้ถาวร แล้วจึงดึงข้อมูลไปไว้ในหน่วยความจำหลักเฉพาะเมื่อเวลาต้องการเรียกใช้เท่านั้น
3) หน่วยเก็บข้อมูลสํารอง และประเภทของหน่วยเก็บข้อมูลสํารอง
         หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ( Secondary Storage Device ) การทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์นั้น เมื่อต้องการเก็บบันทึกข้อมูล หรือกลุ่มคำสั่งต่าง ๆ ไว้ใช้ในอนาคตจะไม่สามารถเก็บไว้ในหน่วยความจำหลักได้ เนื่องจากไม่มีพื้นที่เพียงพอ อีกทั้งข้อมูลที่เก็บจะหายไปเมื่อปิดเครื่อง หากต้องการเก็บข้อมูลที่มากขึ้นและเอาไว้ใช้ประโยชน์ในภายหลัง ก็จำเป็นต้องหาอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง หรือที่เรียกว่า secondary storage
         ปัจจุบันมีสื่อที่ผลิตมาสำหรับใช้เก็บข้อมูลสำรองหลากหลายชนิด ซึ่งพอจะแบ่งตามรูปแบบของสื่อที่เก็บข้อมูลออกได้เป็น 4 ประเภท
          1) สื่อเก็บข้อมูลแบบจานแม่เหล็ก ( Magnetic Disk device ) ป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลประเภทที่ใช้งานเป็นลักษณะของจานบันทึก (disk ) ซึ่งมีหลายประเภท ดังนี้
                       1.1 ฟล็อปปี้ดิสก์ ( Floppy disks ) สื่อเก็บบันทึกข้อมูล นิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ดิสเก็ตต์ ( diskette ) หรือแผ่นดิสก์ การเก็บข้อมูลจะมีจานบันทึก ซึ่งเป็นวัสดุอ่อนจำพวกพลาสติกที่เคลือบสารแม่เหล็กอยู่ด้านใน และห่อหุ้มด้วยกรอบพลาสติกแข็งอีกชั้นหนึ่ง

                        1.2 ฮาร์ดดิสก์ ( Hard disks ) เป็นอุปกรณ์เก็บบันทึกข้อมูลที่มีโครงสร้างคล้ายกับดิสเก็ตต์ แต่จุข้อมูลมากกว่าและมีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลสูงกว่า ส่วนใหญ่จะถูกติดตั้งอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้สำหรับเก็บตัวโปรแกรมระบบปฏิบัติการ ( operating system ) รวมถึงโปรแกรมประยุกต์อื่น ๆ ฮาร์ดดิสก์ผลิตมาจากวัสดุแบบแข็งจำนวนหลายแผ่นวางเรียงต่อกันเป็นชั้น จานแม่เหล็กแต่ละจาน เรียกว่า แพลตเตอร์ ( platter ) ซึ่งอาจจะมีจำนวนต่างกันได้ในฮาร์ดดิสก์แต่ละรุ่น


         2)  สื่อเก็บข้อมูลแสง ( Optical Storage Device ) เป็นสื่อเก็บข้อมูลสำรองที่ใช้หลักการทำงานของแสงเข้ามาช่วย การจัดเก็บข้อมูลจะคล้ายกับแผ่นจานแม่เหล็ก แต่ต่างกันที่การแบ่งวงของแทรคจะแบ่งเป็นลักษณะคล้ายรูปก้นหอยและเริ่มเก็บบันทึกข้อมูลจากส่วนด้านในออกมาด้านนอก และแบ่งส่วนย่อยของแทรคออกเป็นเซกเตอร์เช่นเดียวกันกับแผ่นจานแม่เหล็ก
                      2.1 CD (Compact Disc) เป็นสื่อเก็บข้อมูลด้วยแสงแบบแรกที่ไดรับความนิยมอย่างแพร่หลายและปัจจุบันก็ยังเป็นที่นิยมอยู่ เนื่องจากมีราคาถูกลงกว่าสมัยก่อนมาก ซึ่งแยกออกได้ดังนี้

                              - CD-ROM (Compact disc read only memory) เป็นสื่อเก็บบันทึกข้อมูลที่นิยมใช้สำหรับการเก็บบันทึกข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูลได้อย่างเดียวแต่ไม่สามารถเขียนหรือบันทึกข้อมูลซ้ำได้ สามารถจุข้อมูลได้ถึง 650-750 MB
                              - CD-R (Compact disc recordable) เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการบันทึกไฟล์ข้อมูลเพื่อเก็บรักษาทั่วไป เช่น ภาพถ่ายจากกล้องดิจิตอล เพลง mp3 หรือไฟล์งานข้อมูลซึ่งในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัว
                              -  CD-RW (Compact disc rewritable) เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการบันทึกข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยและเก็บข้อมูลไว้ในระยะเวลาอันสั้น ไม่ถาวร ซึ่งจะช่วยทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มาก เพราะสามารถลบทิ้งแล้วเขียนใหม่อีกได้ถึงกว่าพันครั้ง
                      2.2  DVD (Digital Versatile Disc/Digital Video Disc) ผลิตมาเพื่อตอบสนองกับงานเก็บข้อมูลความจุสูง เช่น เพลงหรืองานมัลติมีเดียเพื่อให้เกิดความสมจริงและคมชัดมากที่สุด การเก็บข้อมูลจะมีการแบ่งออกเป็นชั้น ๆ เรียกว่า เลเยอร์ (Layer ) และสามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งสองด้าน (sides ) ความจุของ DVD จะมีมากกว่า CD หลายเท่าตัว โดยมีตั้งแต่ 4.7 GB - 17 GB  ซึ่งพอจะแยกออกได้ดังนี้

                             - DVD-ROM  มักใช้สำหรับเก็บข้อมูลขนาดใหญ่มาก เช่น ภาพยนตร์ความคมชัดสูงและต้องการเสียงที่สมจริง รวมถึงการสำรองข้อมูลขนาดใหญ่ที่ CD-ROM ทั่วไปไม่สามารถจัดเก็บหรือบันทึกได้
                             - DVD-R และ DVD-RW เป็นแผ่น DVD ประเภทเขียนข้อมูลได้ตามมาตรฐานขององค์กร DVD Forum มีความจุข้อมูลสูงสุดขณะนี้ 4.7 GB เท่านั้น 
                             - DVD+R และ DVD+RW เป็นกลุ่มของ DVD ที่เขียนข้อมูลได้เช่นเดียวกันแต่เป็นมาตรฐานขององค์กร DVD+RW Alliance  มีความจุสูงสุดคือ 4.7 GB และอาจเพิ่มอีกในอนาคต
           3) สื่อเก็บข้อมูลอื่น ๆ ( Other Storage Device ) อุปกรณ์หน่วนความจำแบบแฟรช ( Flash memory device ) ปัจจุบันนำมาใช้บันทึกแทนสื่อเก็บข้อมูลแบบดิสเก็ตต์มากขึ้น เพราะจุข้อมูลได้มากกว่า นิยมใช้กับเครื่องพีซีและคอมพิวเตอร์แบบพกพาทั่วไป มีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น flash drive, thumb driveหรือ handy drive โดยสามารถต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์และอ่านค่าข้อมูลนั้นได้โดยตรง
          อุปกรณ์หน่วยความจำแบบแฟรชนี้อาจอยู่ในรูปแบบของ memory card ที่ใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูลประเภทภาพถ่ายหรือข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ในอุปกรณ์ดิจิตอลแบบพกพาทั้งหลาย ซึ่งมีหลายฟอร์แมต เช่น Compact Flash (CF), SmartMedia ( เลิกผลิตแล้ว), Secure Digital และ Multimedia Memory Card (SD/MMC ซึ่งมีขนาดเท่ากัน) และ Memory Stick โดยการอ่านข้อมูลอาจใช้อุปกรณ์ดิจิตอลนั้นต่อพ่วงเข้ากับคอมพิวเตอร์โดยตรงหรือใช้อุปกรณ์พิเศษที่เรียกว่า card reader ช่วยอ่านข้อมูลที่เก็บอยู่ภายในได้เช่นเดียวกัน
4) หน่วยรับข้อมูลเข้า และประเภทอุปกรณ์ของหน่วยรับข้อมูล
       หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) เป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการนำข้อมูลหรือชุดคำสั่งเข้ามายังระบบเพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลต่อไปได้ ซึ่งอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร ภาพกราฟิก เสียง หรือวิดีโอ เป็นต้น อุปกรณ์นำข้อมูลเข้าที่พบเห็นได้ในปัจจุบันพอจะยกตัวอย่างได้ดังนี้
         1) อุปกรณ์แบบกด (Keyed Device)
                    1.1 คีย์บอร์ด (Keyboard) เป็นอุปกรณ์นำข้อมูลเข้าที่นิยมใช้กันมากที่สุดและพบเห็นในการใช้งานทั่วไป โดยรับข้อมูลป้อนเข้าที่เป็นตัวอักษร อักขระพิเศษ ตัวเลข รวมถึงชุดคำสั่งต่าง ๆ โดยข้อมูลทั้งหมดที่ป้อนเข้ามาจะถูกส่งเข้าไปเก็บยังหน่วยความจำของระบบและแปลงให้เป็นรหัสที่คอมพิวเตอร์เข้าใจเสียก่อน จากนั้นจึงจะนำไปประมวลผลต่อไป ปัจจุบันอาจพบเห็นคีย์บอร์ดประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้
                       

                2)  อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง (Pointing Device)
                   2.1 เมาส์ ( Mouse ) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ชี้ตำแหน่งการทำงานรวมถึงสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานบางคำสั่งที่มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ โดยใช้มือเป็นตันบังคับทิศทางและใช้นิ้วสำหรับการกดเลือกคำสั่งงาน สามารถพบเห็นได้ 2 ประเภท ดังนี้


        3) ประเภทปากกา (Pen-Based Device )
           

          4) ประเภทข้อมูลมัลติมีเดีย( Multimedia Input Device)
            

          5) ประเภทสแกนและอ่านข้อมูลด้วยแสง(Scanner and Optical Reader)
          

          6) ประเภทตรวจสอบข้อมูลทางกายภาพ (Biometric Input Device )
             ไบโอเมตริกส์ ( biometric ) เป็นลักษณะของการตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวบุคคลเฉพาะอย่าง ซึ่งนำมาใช้กับงานป้องกันและรักษาความปลอดภัยในหน่วยงานที่ต้องการความปลอดภัยในระดับสูง เนื่องจากระบบการตรวจสอบประเภทนี้จะปลอมแปลงได้ยาก 


หลักในการตัดสินใจเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 

ลักษณะการใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์
       ขั้นตอนแรกที่เราควรพิจารณาในการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ นั่นคือต้องการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานอะไร เป็นต้นเพื่อที่เราจะสามารถเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับการใช้งานโดยเราจะแบ่งระดับผู้ใช้งานเป็น 3 ประเภท คือ
1) Basic User ได้แก่ ผู้ใช้โปรแกรมประเภท Windows 95/98/Me,Ms Office และดูหนังฟังเพลง
2) Power User ได้แก่ ผู้ใช้งานด้านกราฟฟิกและเล่นเกม เช่น โปรแกรม Photoshop ,AutoCAD
3) Graphic User ได้แก่ ผู้ที่ใช้งานด้านกราฟฟิกเป็นหลัก เช่น โปรแกรม Photoshop,AutoCAD และ 3D Studio Max ตารางข้างล่างจะเป็นตัวอย่างในการเลือกอุปกรณ์ในการใช้งาน

สเป็คของเครื่องคอมพิวเตอร์
      เมื่อเราทราบถึงลักษะการใช้งานของเครื่องแล้ว ต่อมาเราจะพิจารณาถึงสเป็คของเครื่อง ซึ่งเราควรดูสเป็คของเครื่องคอมพิวเตอร์ว่าเป็นอย่างไร มีความเหมาะสมหรือตรงตามวัตถุประสงค์ในการใช้งานหรือไม่ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มีส่วนประกอบหลักๆที่ควรพิจารณามีดังนี้หน่วยประมวลผล (CPU) ว่าเป็นรุ่นใด เช่น Celeron Pentium II Pentium III และ CPU เหล่านี้มีความเร็วในการทำงานเท่าไหร่มีหน่วยความจำหลัก (RAM) ว่ามีขนาดและความเร็วเท่าไหร่ เช่น แรมขนาด 64 MB มีความเร็วในการทำงาน 100 MHzฮาร์ดดิสก์มีขนาดเท่าไหร่ มียี่ห้อหรือเป็นชนิดใดและมีความเร็วในการถ่ายเทข้อมูลเท่าไหร่ใช้เมนบอร์ดรุ่นไหนมีการ์ดจอยี่ห้อหรือรุ่นอะไร และมีหน่วยความจำในการ์ดจอเท่าไหร่มีการ์ดเสียงและลำโพงยี่ห้อหรือรุ่นอะไร ฯลฯ

ราคาของเครื่องคอมพิวเตอร์ 
      ปัญหาพื้นฐานของผู้ใช้มือใหม่ที่มักจะสับสนว่า อะไรคือชื่อยี่ห้อ อะไรคือชื่ออุปกรณ์ เพราะมองในใบเสนอราคามีแต่ภาษาอังกฤษทั้งนั้น วิธีการแก้ปัญหาคือการหาชื่ออุปกรณ์ ซึ่งชื่ออุปกรณ์จะใช้คำหลักๆเหล่านี้เสมอ เช่น Mainboard, RAM, Monitor, Keyboard, Mouse ส่วนรายละเอียดอื่นๆที่มีเพิ่มเติม ก็มักจะเป็นยี่ห้อของอุปกรณ์นั้น (ถ้ารายละเอียดเป็นตัวอักษร) เป็นความเร็ว ความจุขนาดของอุปกรณ์นั้น(ถ้ารายละเอียดเป็นตัวเลข)ส่วนรายละเอียดที่แตกต่างจากตัวอย่างที่นำเสนอนั้นจะมีอยู่ไม่มากแล้วเราสามารถสอบถามจากร้านค้านั้นๆได้
       ในปัจจุบันอุปกรณ์หรือเครื่องมีราคาไม่แน่นอน ดังนั้นก่อนซื้อเครื่องเราควรหาข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าเราจะซื้อรุ่นไหน ยี่ห้ออะไร โดยการอ่านข้อมูลในหนังสือหรือการเดินสำรวจตามร้านต่างๆ พร้อมหยิบโบว์ชัวหรือใบเสนอราคา เพื่อนำมาเปรียบเทียบสเป็คและราคาว่าเป็นอย่างไรและราคานี้ยังขึ้นอยู่กับลักษณะของการซื้อด้วย
ซึ่งในปัจจุบันเราแบ่งลักษณะของการซื้อคอมพิวเตอร์เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
      1) กลุ่มผู้ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อ หรือเครื่องแบรนด์เนม (Brand Name) ซึ่งเป็น แบรนด์เนมทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ เช่น Intel,Acer, IBM , Atec, Powell, Success PC เป็นต้น
ข้อดี คือการได้เครื่องที่มีคุณภาพสูง อุปกรณ์ต่างๆถูกคำนวณและปรับแต่งด้วยวิศวกรที่ชำนาญ เพื่อให้ประสิทธิภาพเครื่องโดยรวมมีประสิทธิภาพสูงสุดนอกจากนี้ยังมีการประกันและบริการหลังการขายเป็นอย่างดี(ในบางครั้งอาจมีการฝึกอบรมการใช้เครื่องหรือโปรแกรมแก่ผู้ใช้ด้วย)และเมื่อเครื่องเสียจะซ่อมได้ง่ายเนื่องจากช่างรู้อุปกรณ์ต่างๆเป็นอย่างดี
ข้อเสีย คือเครื่องมีราคาแพงที่สุดและเลือกสเป็คตามต้องการไม่ได้ (เพราะว่าสเป็คได้ถูกกำหนดมาแล้วเป็นชุด) เนื่องจากการดูแลรักษาง่าย มีปัญหาน้อยที่สุด ดังนั้น การซื้อเครื่องแบบนี้จะเหมาะกับผู้ซื้อไม่มีประสบการณ์ในการใช้เครื่องและมีทุนทรัพย์เพียงพอและเหมาะกับองค์กรที่ใช้เครื่องเป็นจำนวนมาก

        2) กลุ่มผู้ซื้อเครื่องประกอบตามใบสั่งจากร้าน
ข้อดี คือสามารถกำหนดสเป็คและรุ่นได้ ราคาถูก (ส่วนการรับประกันและบริการหลังการขายขึ้นกับทางร้าน) สามารถจำกัดงบได้
ข้อเสีย คือ การประกอบเครื่องอาจเป็นเพียงการนำอุปกรณ์ตามที่เรากำหนดสเป็คไว้มาประกอบรวมกันเท่านั้น ไม่ได้คำนวณและปรับแต่งเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งกว่านั้นถ้าเราไม่มีความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์นั้น เราอาจได้สินค้าที่ไม่มีคุณภาพเพียงพอหรือได้สินค้าปลอม และเมื่อเครื่องเสียต้องยกมาที่ร้านเอง

 3) กลุ่มผู้ซื้อเครื่องประกอบโดยนำมาประกอบเอง
ข้อดี คือ ได้อุปกรณ์ที่ดีมีคุณภาพเพราะเป็นอุปกรณ์ใหม่แกะกล่อง แน่ใจได้เลยว่าไม่ใช่สินค้าปลอม สามารถเลือกรุ่น และยี่ห้อได้เช่นเดียวกับแบบสั่งประกอบ แต่เลือกได้หลากหลายกว่า และอาจซื้อได้ถูกกว่าอีกด้วย
ข้อเสียคือราคาโดยรวมอาจจะสูงกว่าซื้อตามใบสั่งบางรายการ เพราะอุปกรณ์ที่ได้จะดีกว่าและผู้ซื้อต้องเสียเวลาในการประกอบเครื่องเองและติดตั้งโปรแกรมด้วยตนเอง “คอมพิวเตอร์มีขายเยอะแยะ ทำไมต้องประกอบเอง” คำตอบง่ายๆก็คือ ก็เพราะว่าเครื่องที่ประกอบใช้เองนั้นราคาประหยัดกว่า สามารถเลือกสเปคและยี่ห้ออุปกรณ์ได้ตามความพอใจ และที่สำคัญคือเลือกได้ทันสมัยกว่าเครื่องแบรนด์เนมทั่วไปอีกด้วย

การรับบริการหลังการขาย
          สิ่งที่เราควรคำนึงถึงก่อนตัดสินใจในการซื้อที่มีความสำคัญเท่า ๆ กับราคาและสเป็คก็คือบริการหลังการขาย เพราะเมื่อเครื่องมีปัญหาในการทำงาน และทางร้านรับประกันเครื่อง เราสามารถรับบริการได้ตามการประกันนั้น เช่น การซ่อมแซม เป็นต้น ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
รูปแบบในการรับประกันในปัจจุบันนี้รูปแบบการรับประกันมี 2 แบบ คือ
1) การรับประกันสินค้าแบบรวมค่าแรง เป็นลักษณะที่เมื่อเครื่องเกิดปัญหาทางร้านยินดีไปรับมาซ่อมและนำส่งเมื่อซ่อมเสร็จแล้วโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ โดยส่วนมากจะเป็นร้านที่มีชื่อเสียงและสินค้าที่รับประกันจะเป็นสินค้าที่ดีมีคุณภาพ เช่น สินค้าที่มี Brand name ต่างๆ และมีราคาค่อนข้างแพง
  
2) การรับประกันแบบไม่รวมค่าแรงเป็นลักษณะที่เมื่อเครื่องเกิดปัญหาเราต้องนำเครื่องไปซ่อมเองที่ร้านและรับกลับเองเมื่อซ่อมเสร็จ และบางครั้งอาจมีการคิดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมด้วย ซึ่งการรับประกันแบบนี้จะใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ราคาถูกทั่วไปหรือการซื้อเครื่องมาประกอบเองสำหรับการเลือกบริการหลังการขายนี้เราต้องพิจารณาให้รอบคอบว่าแบบใดจึงจะเหมาะสมกับเครื่อและลักษณะของการใช้งานแบบไหน ถ้าเป็นการใช้งานเกี่ยวกับโปรแกรมกราฟฟิกหรือโปรแกรมที่มีความซับซ้อน (ระดับ Graphic User) เราควรเลือกรูปแบบการรับประกันสินค้าแบบรวมค่าแรง เพราะนอกจากที่เราจะได้สินค้าที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีแล้ว เมื่อเครื่องหรืออุปกรณ์มีการขัดข้องก็สามารถรับบริการหลังการขายตลอดระยะเวลาในการรับประกันได้ถ้าหากเราเลือกแบบไม่รวมค่าแรงเมื่อเครื่องขัดข้องหรือมีปัญหา เราจะต้องนำเครื่องไปที่ร้านเองทุกครั้งและเสียค่าใช้จ่ายมากด้วย เนื่องจากเป็นโปรแกรมที่มีความซับซ้อนในการใช้งานกว่า ความเสียหายอาจจะมากกว่าเครื่องที่ใช้งานแบบธรรมดา ระยะเวลาในการรับประกัน ในการรับประกันสินค้านั้นทางร้านจะกำหนดระยะเวลาในการประกันด้วย โดยส่วนมากเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีการประกัน 1 ปี แต่ถ้าเราซื้อเครื่องแบบประกอบเราควรจะต้องทราบก่อนว่าอุปกรณ์แต่ละตัวมีการประกัน และมีระยะการรับประกันอย่างไร

การตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆในเครื่องคอมพิวเตอร์
         เมื่อเราได้เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ แล้วก่อนที่จะออกร้านเราควรเช็คหรือตรวจสอบเครื่องก่อน เพื่อตรวจดูว่าเครื่องที่ได้ตรงตามสเป็คและมีการชำรุดหรือไม่ ซึ่งมีวิธีการตรวจสอบ 3 วิธีดังนี้
        1) การตรวจสอบโดยเปิดฝาเครื่อง โดยการเปิดฝาเครื่องออกมาเพื่อดูส่วนประกอบภายในเครื่องเป็นการตรวจที่ง่ายที่สุด ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้เราทราบเพียงว่าส่วนประกอบของเครื่องมีอะไรบ้าง แต่ไม่สามารถเช็คการทำงานของอุปกรณ์นั้นๆ ได้ ว่าทำงานได้จริงและมีความถูกต้องหรือไม่
        2) การตรวจสอบด้วยวินโดวส์ โดยการใช้โปรแกรมพิเศษในการตรวจ (เช่น Norton Utilities) หรือใช้Control Panel ที่มีอยู่แล้วในเครื่องก็ได้ ซึ่งวิธีนี้สามารถตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ได้
       3) การตรวจเครื่องด้วยไบออส เป็นกระบวนการที่ตรวจสอบฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ภายในเครื่องทุกครั้งที่เปิดเครื่องขึ้นมา เช่น หน่วยประมวลผล (CPU) หน่วยความจำ (RAM) ส่วนของอุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูล อุปกรณ์ต่อพ่วงภายนอกและการ์ดที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อดูว่าฮาร์ดแวร์เหล่านี้สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องหรือไม่หรือมีความขัดข้องในการทำงาน และเป็นวิธีที่เราสามารถเช็คว่า ได้เครื่องตามสเป็คหรือไม่ ถึงแม้ว่าการตรวจด้วยวิธีนี้จะไม่ละเอียดมากนักแต่ก็ทำการตรวจได้รวดเร็วดังนั้นจึงเหมาะในการตรวจดูเครื่องก่อนออกจากร้านสำหรับการตรวจเครื่องโดยใช้ไบออสนั้นทำได้ง่าย เพราะหลังจากที่เราเปิดเครื่องขึ้นมาไบออสจะนำกระบวนการ POST (Power On Self Test) มาตรวจสอบฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ว่าอุปกรณ์เหล่านี้สามารถทำงานได้ถูกต้องหรือไม่ และแสดงข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ในเครื่องให้เราทราบ
      ซึ่งถ้าหากเราพบว่าไม่ถูกต้องก็ให้แจ้งกับทางร้านให้ทราบก่อนนำออกจากร้านเพื่อทำการแก้ไขข้อผิดพลาดนั้น ๆในกรณีที่เราสังเกตไม่ทันไม่ควรปิดเครื่องในระหว่างที่วินโดวส์กำลังบู๊ต เพราะจะทำให้วินโดวส์มีปัญหาในการทำงานภายหลังได้ เราควรปิดเครื่องก่อนที่เครื่องจะเข้าสู้ขั้นตอนการบู๊ตของวินโดวส์หรือรอให้วินโดวส์บู๊ตเสร็จก่อนแล้วจึง Restart เพื่อเริ่มการสังเกตข้อความที่แสดงโดยไบออสอีกครั้ง

IT INFRASTRUCTURE

      โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีประกอบด้วยชุดอุปกรณ์ทางกายภาพและแอพพลิเคชันซอฟต์แวร์ที่จำเป็นต่อการดำเนินงานทั้งองค์กร แต่โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีเป็นชุดของการให้บริการที่ครอบคลุมโดยงบประมาณโดยฝ่ายบริหารและประกอบด้วยความสามารถของมนุษย์และด้านเทคนิค บริการเหล่านี้รวมถึง
  • แพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์ ที่ใช้เพื่อให้บริการคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อ พนักงาน, ลูกค้าและซัพพลายเออร์ เข้ากับสภาพแวดล้อมระบบดิจิตอลแบบต่าง ๆ รวมถึงเมนเฟรมขนาดใหญ่, คอมพิวเตอร์ขนาดกลาง, คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปและแล็ปท็อป รวมทั้งโทรศัพท์มือถือและบริการคลาวน์คอมพิวเตอร์ระยะไกล
  •            บริการซอฟต์แวร์แอพพลิเคชัน รวมถึงบริการซอฟต์แวร์ออนไลน์ที่ให้ความสามารถในระดับองค์กร เช่น การวางแผนทรัพยากรขององค์กร การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า การจัดการห่วงโซ่อุปทาน และระบบการจัดการความรู้ที่ทุกหน่วยงานใช้ร่วมกัน
  •         บริการโทรคมนาคมที่ให้ข้อมูลเสียงและวิดีโอเชื่อมต่อกับพนักงาน ลูกค้า และซัพพลายเออร์
  •         บริการจัดการข้อมูลที่เก็บ และจัดการข้อมูลขององค์กร และให้ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล
การเชื่อมต่อระหว่าง บริษัท โครงสร้างพื้นฐาน it และความสามารถทางธุรกิจ
เทคโนโลยีการวิวัฒนาการของโครงสร้างพื้นฐาน

       การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่เราเพิ่งได้อธิบายไว้นั้นเป็นผลมาจากพัฒนาการของการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ชิพหน่วยความจำอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลอุปกรณ์โทรคมนาคมและเครือข่ายฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์และการออกแบบซอฟต์แวร์

การขับเคลื่อนเทคโนโลยีในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที
การขับเคลื่อนเทคโนโลยีของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีมีดังนี้
               1)  Moore และ Law Microprocessing Power
               • มัวร์ลดอัตราการเติบโตลงเป็นสองเท่าทุกๆสองปี
               • กฎหมายนี้ต่อมาจะมีการตีความในหลายวิธี กฎมัวร์มีอย่างน้อยสามรูปแบบซึ่งมัวร์ไม่เคยกล่าวไว้ว่า
                      1. พลังของไมโครโพรเซสเซอร์จะเพิ่มขึ้นทุกๆ 18 เดือน
                      2. กำลังการใช้คอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุก 18 เดือน
                      3. ราคาของคอมพิวเตอร์ลดลงครึ่งหนึ่งทุก 18 เดือน
        
Moore’s Law and Microprocessing Power 
       2) กฎหมายว่าด้วยการจัดเก็บข้อมูลแบบดิจิทัล
              • ปริมาณข้อมูลดิจิทัลมีการเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุก ๆ ปี โชคดีที่ค่าจัดเก็บข้อมูลดิจิตัลลดลงในอัตราร้อยละ 100 ต่อปี

จำนวนเงินที่เก็บก่อนดอลลาร์เพิ่มขึ้นอย่างมาก 1950-2014
                3)   Metcalfe's Law and Network Economics
             • Robert Metcalfe ผู้ประดิษฐ์เทคโนโลยีเครือข่ายอีเธอร์เน็ตในพื้นที่ - อ้างว่าปีพ. ศ. 2513 ว่ามูลค่าหรือพลังของเครือข่ายเพิ่มขึ้นอย่างมากตามจำนวนของเครือข่าย
             • จำนวนสมาชิกในเครือข่าย เติบโตขึ้นอย่างเป็นเส้นตรงค่าของระบบทั้งหมดเติบโตขึ้นอย่างมากและเติบโตอย่างต่อเนื่องในฐานะสมาชิกที่เพิ่มขึ้น
                4)  ลดค่าใช้จ่ายด้านการสื่อสารและอินเทอร์เน็ต
             • การลดลงของค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารและการเพิ่มขึ้นของขนาดของอินเทอร์เน็ต เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารลดลงเป็นจำนวนมากและใช้วิธีการต่างๆ

ค่าใช้จ่ายในการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตลดลง

         5) มาตรฐานและผลกระทบทางเครือข่าย
              • มาตรฐานเทคโนโลยีเป็นข้อกำหนดที่กำหนดความเข้ากันได้ของผลิตภัณฑ์และความสามารถในการสื่อสารในเครือข่าย
              • มาตรฐานด้านเทคโนโลยีช่วยปลดปล่อยความประหยัดจากขนาดและส่งผลให้ราคาลดลงเนื่องจากผู้ผลิตมุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ที่สร้างขึ้นตามมาตรฐานเดียว

คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์แพลทฟอร์ม(Computer Hardware  Platforms)

   

อะไรคือแนวโน้มปัจจุบันในเครื่องคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์?
           • พลังการระเบิดของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีระบบเครือข่ายได้เปลี่ยนแปลงวิธีการที่องค์กรต่าง ๆ จัดระเบียบพลังการประมวลผลของตนโดยใช้พลังงานมากขึ้นในเครือข่ายและอุปกรณ์มือถือมือถือ เรามองไปที่แนวโน้มด้านฮาร์ดแวร์ 7 ประการ
                 1. แพลตฟอร์มโทรศัพท์มือถือแบบดิจิตอล
                 2. Consumerization ของ IT และ BYOD
                 3. คอมพิวเตอร์ควอนตัม
                 4. การจำลองเสมือน
                 5. คอมพิวเตอร์เมฆ
                 6. คอมพิวเตอร์สีเขียว
                 7. ประสิทธิภาพสูง / หน่วยประมวลผลประหยัดพลังงาน

Cloud Computing

       คอมพิวเตอร์ในระบบคลาวด์เป็นรูปแบบการประมวลผลคอมพิวเตอร์การจัดเก็บซอฟท์แวร์และบริการอื่น ๆ เป็นแหล่งรวมทรัพยากรแบบเวอร์ชวลผ่านเครือข่ายซึ่งส่วนใหญ่เป็นอินเทอร์เน็ต

        •คลาวด์สามารถเป็นแบบส่วนตัวหรือสาธารณะ คลาวด์สาธารณะเป็นของผู้ให้บริการคลาวด์เช่น Amazon Web Services และเป็นผู้ให้บริการแก่กลุ่มอุตสาหกรรมทั่วไป ระบบคลาวด์ส่วนตัวดำเนินการเพียงอย่างเดียวสำหรับ
       •องค์กร อาจมีการจัดการโดยองค์กรหรือบุคคลที่สามและ
       •อาจมีอยู่ในสถานที่ตั้งหรือสถานที่ตั้ง เช่น คลาวด์สาธารณะ คลาวด์ส่วนตัว สามารถจัดสรรพื้นที่จัดเก็บข้อมูลการคำนวณพลังงานหรือทรัพยากรอื่น ๆ ได้อย่างไร้รอยต่อเพื่อจัดหาทรัพยากรบนคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นตามความต้องการ บริษัท ที่ต้องการทรัพยากรไอทีที่ยืดหยุ่น
       •และรูปแบบบริการแบบคลาวด์ในขณะที่ยังคงควบคุมโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีของตนเอง
       •โครงสร้างเหล่านี้ล่อลวงไปสู่ระบบคลาวด์ส่วนตัวเหล่านี้ 
ที่มา 
https://preeya034.wordpress.com
: http://friendsbcom51.blogspot.com
: https://108oa.co.th/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทที่ 2 องค์กร การจัดการ การตัดสินใจ

บทที่ 1 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ