บทที่ 5 เทคโนโลยีสารสนเทศ, โครงสร้างพื้นฐาน, โทรคมนาคม, อินเตอร์เนตและเทคโนโลยีไร้สาย
เทคโนโลยีสารสนเทศ, โครงสร้างพื้นฐาน, โทรคมนาคม, อินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีไร้สาย
Information Technology Infrastructure Telecommunications, the Internet and Wireless Technology
เครือข่ายคอมพิวเตอร์คืออะไร
- เครือข่ายประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป
- ส่วนประกอบที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างง่าย ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ไคลเอ็นต์ และคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์เฉพาะระบบเครือข่ายอินเตอร์เฟซ ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (NOS) ที่อยู่บนคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์เฉพาะ, สื่อการเชื่อมต่อ (สายไฟ),การเชื่อมต่ออุปกรณ์สวิทช์ ฮับและเราเตอร์
แสดงฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์และการส่งข้อมูลที่สำคัญ |
เครือข่ายในบริษัทขนาดใหญ่
โครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายองค์กรของ คือ ชุดของเครือข่ายต่าง ๆ
จากโทรศัพท์สาธารณะเครือข่าย, อินเทอร์เน็ต, เครือข่ายท้องถิ่นขององค์กร การเชื่อมโยงกลุ่มงานแผนกหรือพื้นสำนักงาน
เทคโนโลยีเครือข่าย
Client/Server
Computing
- เป็นระบบการทำงานแบบ Distributed Processing หรือการประมวลผลแบบกระจาย โดยจะแบ่งการประมวลผลระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์กับเครื่องไคลเอ็นต์ แทนที่แอพพลิเคชั่นจะทำงานอย ู่เฉพาะบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ก็แบ่งการคำนวณของโปรแกรมแอพพลิเคชั่น มาทำงานบนเครื่องไคลเอ็นต์ด้วย และเมื่อใดที่เครื่องไคลเอ็นต์ต้องการผลลัพธ์ของข้อมูลบางส่วน จะมีการเรียกใช้ไปยัง เครื่องเซิร์ฟเวอร์ให้นำเฉพาะข้อมูลบางส่วนเท่านั้นส่งกลับ มาให้เครื่องไคลเอ็นต์เพื่อทำการคำนวณข้อมูลนั้นต่อไป
- Packet Switching (แพ็กเกตสวิตชิง) เป็นวิธีการสื่อสารข้อมูลแบบดิจิทอลที่มีการรวมกลุ่มข้อมูลที่จะส่งทั้งหมดตั้งแต่เนื้อหา ชนิดหรือโครงสร้าง โดยจะมีการจัดเป็นบล็อกที่มีขนาดให้เหมาะเรียกว่า แพ็กเกต (Packet)
เครือข่ายการสลับแพ็กเก็ตและการสื่อสารแบบแพ็กเก็ต |
TCP / IP และการเชื่อมต่อ
- โปรโตคอล เป็นชุดของกฎและขั้นตอนการปกครองการส่งผ่านข้อมูลระหว่างจุดสองจุดในเครือข่าย
- TCP จะทำหน้าที่ในการแยกข้อมูลเป็นส่วน ๆ หรือที่เรียกว่า Package ส่งออกไป ส่วน TCP ปลายทาง ก็จะทำการรวบรวมข้อมูลแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป โดยระหว่างการรับส่งข้อมูลนั้นก็จะมีการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูลด้วย ถ้าเกิดผิดพลาด TCP ปลายทางก็จะขอไปยัง TCP ต้นทางให้ส่งข้อมูลมาใหม่
- IP จะทำหน้าที่ในการจัดส่งข้อมูลจากเครื่องต้นทางไปยังเครื่องปลายทางโดยอาศัย IP Address
โปรโตคอลควบคุมการส่งผ่าน / โปรโตคอลอินเทอร์เน็ต (TCP / IP) |
คอมพิวเตอร์สองเครื่องที่ใช้
TCP / IP สามารถสื่อสารได้แม้ว่าจะมีขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์ม
ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ส่งข้อมูลแล้วจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งจะผ่านลงมาทั้งสี่เลเยอร์
เริ่มต้นด้วยชั้นแอพพลิเคชันของคอมพิวเตอร์ส่งและผ่านชั้น Network Interface หลังจากข้อมูลถึงคอมพิวเตอร์โฮสต์ผู้รับพวกเขาเดินทางขึ้นชั้นและมีประกอบขึ้นเป็นรูปแบบที่คอมพิวเตอร์รับสามารถใช้งานได้นี้กระบวนการจะกลับกันเมื่อคอมพิวเตอร์รับการตอบสนอง
ความแตกต่างกันของเครือข่าย
มีสองวิธีในการสื่อสารข้อความในเครือข่าย: สัญญาณอนาล็อกหรือสัญญาณดิจิตอล
สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) หมายถึงสัญญาณข้อมูลแบบต่อเนื่อง
(Continuouse Data) มีขนาดของสัญญาณไม่คงที่
การเปลี่ยนแปลงขนาดของสัญญาณแบบค่อยเป็นค่อยไป มีลักษณะเป็นเส้นโค้งต่อเนื่องกันไป
โดยการส่งสัญญาณแบบอนาล็อกจะถูกรบกวนให้มีการแปลความหมายผิดพลาดได้ง่าย เช่น
สัญญาณเสียงในสายโทรศัพท์ เป็นต้น
สัญญาณดิจิตอล(Digital Signal) หมายถึง สัญญาณที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง(Discrete
Data) ที่มีขนาดแน่นอนซึ่งขนาดดังกล่าวอาจกระโดดไปมาระหว่างค่าสองค่า
คือ สัญญาณระดับสูงสุดและสัญญาณระดับต่ำสุด ซึ่งสัญญาณดิจิตอลนี้เป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการทำงานและติดต่อสื่อสารกัน
อนาล็อก กับ ดิจิตอล
มีความแตกต่างกันทางความต่อเนื่องของสัญญาณ และความแม่นยำของสัญญาณ
ประเภทของเครือข่าย
โดยทั่วไปการจำแนกประเภทของเครือข่ายมีอยู่ 3 วิธีคือ
- ใช้ขนาดทางกายภาพของเครือข่ายเป็นเกณฑ์ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
เครือข่ายเฉพาะที่ หรือแลน ( Local Area
Network: LAN )
|
1. เครือข่ายท้องถิ่น
1.1. Local Area Network หรือ
LAN
1.2. เป็นเครือข่ายระยะใกล้
ครอบคลุมภายใต้บริเวณเดียวกัน
1.3. เชื่อมต่อภายในอาคารบริเวณเดียวกัน
1.4. เชื่อมต่อเครื่องพีซีตั้งแต่สองเครื่อง
รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อใช่ทรพยากรณ์ร่วมกัน
1.5. หากต้องการเชื่อมต่อระยะไกลขึ้น
จะใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณร่วมด้วย
1.6 มี 3 รูปแบบ คือ แบบบัส (Bus), แบบสตาร์(Star), แบบริง (Ring)
เครือข่ายระดับเมือง หรือแมน (Metropolitan Area Network) |
2. เครือข่ายระดับเมือง
2.1. Metropolitan Area Network หรือ
MAN
2.2. เชื่อมต่อเครือข่าย LAN เข้าไว้ด้วยกัน
2.3. ครอบคลุมพื้นที่กว้าง
ระดับเมืองหรือจังหวัด
2.4. มีแบคโบน
ทำหน้าที่เป็นสายหลักในการเชื่อมเครือข่าย
เครือข่ายระดับประเทศ หรือแวน (Wide Area Network) |
3.1. Wide Area Network หรือ
WAN
3.2. เชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆเข้าด้วยกัน
3.3. ครอบคลุมระดับประเทศหรือข้ามทวีป
3.4. ติดต่อผ่านช่องทางสื่อสารระยะไกล
3.5. สายโทรศัพท์ เคเบิล ดาวเทียม
3.6. เครือข่าย WAN สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ เครือข่ายส่วนตัว ( Private Network ), เครือข่ายสาธารณะ ( Public Data Network )
- เครือข่ายส่วนตัว ( Private Network ) เป็นการจัดตั้งระบบเครือข่ายซึ่งมีการใช้งานเฉพาะองค์กรที่เป็นเจ้าของเครือข่ายอยู่เพื่อเชื่อมโยงสาขาต่าง ๆ ในระดับกายภาพ ( Physical Layer ) ของการเชื่อมต่อส่วนตัวจะยังคงต้องใช้ช่องทางการสื่อสารข้อมูลสาธารณะ เช่น สายโทรศัพท์ สายเช่า ดาวเทียม เป็นต้น ( เนื่องจากข้อกำหนดของประเทศต่าง ๆ โดยปกติแล้วจะไม่อนุญาตให้วางเครือข่ายเองได้
- เครือข่ายสาธารณะ ( Public Data Network ) เครือข่ายสาธารณะ บางครั้งเรียกว่า เครือข่ายมูลค่าเพิ่ม ( Value Added Network ) เป็นระบบเครือข่าย WAN ซึ่งองค์กรที่ได้รับสัมปทานทำการจัดตั้งขึ้น เพื่อให้บุคคลทั่งไปหรือองค์กรอื่น ๆที่ไม่ต้องการวางเครือข่ายเองสามารถแบ่งกันเช่าใช้งานได้ระบบเครือข่ายสาธารณะนิยมใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายแบบ WAN กันมาก
- ใช้ลักษณะหน้าที่การทำงานของคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเป็นเกณฑ์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
1. Peer-to-Peer Network หรือเครือข่ายแบบเท่าเทียม
เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์เหมาะสำหรับสภาแวดล้อมดังต่อไปนี้
- มีผู้ใช้เครือข่าย 10 คน
หรือน้อยกว่า
- มีทรัพยากรเครือข่ายที่ต้องแชร์กันไม่มากนัก
เช่น ไฟล์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
ซึ้งยังไม่จำเป็นต้องมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ทำหน้าที่ทางด้านนี้โดยเฉพาะ
- ยังไม่มีความจำเป็นในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
- การขยายตัวของเครือข่ายไม่มากนักในอนาคตอันใกล้
สำหรับองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายใช้
ควรที่จะมีบุคลากรที่ทำหน้าที่ดูแลและจัดการระบบ ซึ่งจะทำหน้าที่ดังต่อไปนี้
- ให้การช่วยเหลือผู้ใช้เกี่ยวกับการใช้ซอฟต์แวร์ต่างๆ
และการใช้เครือข่าย
- ดูแลข้อมูลและกำหนดการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
- สร้างการแชร์ทรัพยากรต่างๆ
- ดูแลรักษาซอฟต์แวร์ เช่น การติดตั้งและอัพเกรตซอฟต์แวร์ต่างๆ
รวมทั้งระบบปฏิบัติการ
- บำรุงรักษาอุปกรณ์เครือข่าย และแก้ปัญหาต่างๆ
ของเครือข่าย peer-to-Peer Network หรือเครือข่ายแบบเท่าเทียม
2. Client-Server
Network หรือเครือข่ายแบบผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ
เครือข่ายประเภทนี้จะมีเครื่องศูนย์บริการที่เรียกว่า เครื่องเซิร์ฟเวอร์ และมีเครื่องลูกข่ายต่าง ๆ เชื่อมต่อ โดยเครือข่ายหนึ่งอาจมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์มากกว่าหนึ่งตัวเชื่อมต่อภายในวงแลนเดียวกัน
ซึ่งเซิร์ฟเวอร์แต่ละตัวก็ทำหน้าที่รับผิดชอบที่แตกต่างกัน เช่น
1.ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ (File Server) คือ
เครื่องที่ให้บริการแฟ้มข้อมูลให้แก่เครื่องลูกข่าย
2.พรินต์เซิร์ฟเวอร์ (Print Server) คือ
เครื่องที่บริการงานพิมพ์ให้แก่เครื่องลูกข่าย โดยบันทึกงานพิมพ์เก็บไว้ในรูปแบบของสพูล
(Spool) และดำเนินการพิมพ์งานตามลำดับคิว
3.ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ (Database Server) คือ
เครื่องที่บริการฐานข้อมูลให้แก่เครื่องลูกข่าย
4.เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) คือ
เครื่องที่จัดเก็บข้อมูลด้านเว็บเพจขององค์กร เพื่อให้ผู้ท่องอินเตอร์เน็ตสามารถเข้าถึงเว็บขององค์กรได้
5.เมลเซิร์ฟเวอร์ (Maill Server) คือ
เครื่องที่จัดเก็บข้อมูลด้านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail ที่มีการรับส่งระหว่างกันภายในเครือข่าย
- ใช้ระดับความปลอดภัยของข้อมูลเป็นเกณฑ์ สามารถแบ่งได้ดังนี้คือ
หรือเครือข่ายสาธารณะ เป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เป็นล้านๆเครื่องเชื่อมต่อเข้ากับระบบและยังขยายตัวขึ้น เรื่อย ๆ ทุกปี อินเทอร์เน็ตมีผู้ใช้ทั่วโลกหลายร้อยล้านคน และผู้ใช้เหล่านี้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้อย่างอิสระ โดยที่ระยะทางและเวลาไม่เป็นอุปสรรค นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเข้าดูข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกตีพิมพ์ในอินเทอร์เน็ตได้ อินเทอร์เน็ตเชื่อมแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เข้าด้วยกันไม่ว่าจะเป็นองค์กรธุรกิจ มหาวิทยาลัย หน่วยงานของรัฐบาล หรือแม้กระทั่งแหล่งข้อมูลบุคคล องค์กรธุรกิจหลายองค์กรได้ใช้อินเทอร์เน็ตช่วยในการทำการค้า
2. Intranet หรือเครือข่ายส่วนบุคคล
ตรงกันข้ามกับอินเทอร์เน็ต
อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บ, อีเมล,
FTP เป็นต้น อินทราเน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP สำหรับการรับส่งข้อมูลเช่นเดียวกับอินเทอร์เน็ต
ซึ่ง โปรโตคอลนี้สามารถใช้ได้กับฮาร์ดแวร์หลายประเภท และสายสัญญาณหลายประเภท
ฮาร์ดแวร์ที่ใช้สร้างเครือข่ายไม่ใช่ปัจจัยหลักของอินทราเน็ต
แต่เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำให้อินทราเน็ตทำงานได้
อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายที่องค์กรสร้างขึ้นสำหรับให้พนักงานขององค์กรใช้เท่านั้น
3. Extranet หรือเครือข่ายร่วม
เป็นเครือข่ายกึ่งอินเทอร์เน็ตกึ่งอินทราเน็ต กล่าวคือ
เอ็กส์ทราเน็ตคือเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างอินทราเน็ตของสององค์กร
ดังนั้นจะมีบางส่วนของเครือข่ายที่เป็นเจ้าของร่วมกันระหว่างสององค์กรหรือ บริษัท
การสร้างอินทราเน็ตจะไม่จำกัดด้วยเทคโนโลยี
แต่จะยากตรงนโยบายที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ทั้งสององค์กรจะต้องตกลงกัน
เช่น องค์กรหนึ่งอาจจะอนุญาตให้ผู้ใช้ของอีกองค์กรหนึ่งล็อกอินเข้าระบบอินทราเน็ตของตัวเองหรือไม่
เป็นต้น
สื่อการรับส่งข้อมูลและความเร็วในการรับส่งข้อมูล
เครือข่าย ใช้สื่อการรับส่งข้อมูลทางกายภาพประเภทต่าง
ๆ เช่น สายคู่ สายเคเบิล ไฟเบอร์ออปติก และสื่อสำหรับการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย
- บิตต่อวินาที (bps) คือ จำนวนข้อมูลดิจิทัลทั้งหมดที่สามารถส่งผ่านสื่อโทรคมนาคมใด
ๆ ได้
- เฮิรตซ์ (Hertz) เป็นหน่วยอนุพันธ์เอสไอ (SI) ซึ่งเป็นหน่วยของค่าความถี่
โดย 1 Hz คือ
ความถี่ที่เท่ากับ 1
ครั้ง ต่อวินาที (1/s) หรือ
: {\displaystyle
1Hz=1/S} {\displaystyle 1Hz=1/S} ดังนั้น 50 Hz หมายถึงมีความถี่เท่ากับ
50
ครั้งต่อ 1
วินาที[2]
- แบนด์วิดท์ (Bandwidth) คือ ความกว้างของช่องสัญญาณ
บอกถึงความสามารถของการส่งข้อมูล ยิ่งกว้างยิ่งส่งข้อมูลได้เร็ว เปรียบได้กับ
ความกว้างของถนน
สื่อที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล (Transmission Media)
ประเภทของตัวกลางในการสื่อสาร แบ่งออกเป็น 2
ประเภท คือ สื่อกลางที่กำหนดเส้นทางได้และสื่อกลางที่กำหนดเส้นทางไม่ได้
|
สื่อสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ 2 กลุ่มคือ
1.สื่อประเภทเหนี่ยวนำ ได้แก่ สายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล
และสายใยแก้วนำแสง
2.สื่อประเภทกระจายคลื่น ได้แก่ คลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ
สื่อประเภทเหนี่ยวนำ
สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable)
สายคู่บิดเกลียว ประกอบด้วยสายทองแดง
ที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก หลังจากนั้นก็จะนำสายทั้ง 2 เส้นมาถักกันเป็นเกลียวคู่
โดยสายคู่หนึ่งก็จะใช้สำหรับการสื่อสารหนึ่งช่องทาง
จำนวนคู่ที่เกิดจากการนำสาย2เส้นมาถักกันเป็นเกลียว
ซึ่งอาจจะมีหลายๆคู่ที่นำมารวบเข้าด้วยกันและหุ้มด้วยฉนวนภายนอก การที่นำสายมาถักเป็นเกลียว
มีเหตุผลสำคัญคือ ช่วยลดการแทรกแซงจากสัญญาณรบกวน
สายคู่บิดเกลียวจะมีอยู่ 2 รูปแบบด้วยกันคือ
แบบมีชีลด์ และแบบไม่มีชีลด์
- สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่มีชีลด์ (UTP)
เป็นสายชนิหนึ่งที่มีความนิยมใช้งานมากในปัจจุบัน
มีลักษณะคล้ายกับสายโทรศัพท์ที่ใช้ตามบ้าน โดยหน่วยงาน EIA ได้มีการพัฒนามาตรฐานสาย
UTP ตามเกรดการใช้งาน สาย UTP ที่นิยมใช้กับเครือข่ายท้องถิ่น
คือ (CAT 5)
- สายคู่บิดเกลียวชนิดมีชีลด์ (STP)
มีลักษณะคล้ายกับสาย UTP แต่สาย STP จะมีชีลด์ห่อหุ้มอีกชั้นหนึ่งทำให้ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดีว่า
UTP โดยหากมีการนำสาย UTP หลายๆเส้นมามัดรวมกันหรือมีการวางพลาดระหว่างกัน
อาจเกิดสัญญาณรบกวนที่เรียกว่า ครอสทอล์ก ได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสาย STP นั้นมีคุณภาพที่ดีกว่า
แต่ก็มีต้นทุนที่สูงกว่าเช่นกัน
UTP |
STP |
ข้อดีและข้อเสียของสายคู่บิดเกลียว
ข้อดี
-ราคาถูก
-ง่ายต่อการนำไปใช้
ข้อเสีย
-จำกัดความเร็ว
-ใช้กับระยะทางสั้นๆ
-ในกรณีเป็นสายแบบไม่มีชีลด์
ก็จะไวต่อสัญญาณรบกวน
สายโคแอกเชียล (Coaxial
Cable)
สายโคแอกเชียลหรือมักเรียกสั้นๆว่า สายโคแอกซ์ จะมีช่วงความถี่ หรือแบนด์วิดธ์ที่สูงกว่าสายคู่บิดเกลียว
สายมักจะทำด้วย ทองแดงอยู่แกนกลาง
และถูกหุ้มด้วยพลาสติกจากนั้นก็จะมีชีลด์หุ้มอยู่อีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน
และหุ้มด้วยเปลือกนอกอีกชั้นหนึ่ง
จึงทำให้สายโคแอกเชียลนี้เป็นสายที่สามารถป้องกันสัญญาณรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ดี
สายโคแอกเชียลที่เราสามารถพบเห็นได้ทั่วไปก็คือ
สายที่นำมาใช้ต่อเข้ากับเสาอากาศทีวีที่ใช้ตามบ้านนั่นเอง
RG6 Coaxial Cable
|
ข้อดีและข้อเสียของสายโคแอกเชียล
ข้อดี
-เชื่อมต่อได้ในระยะทางไกล
-ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดี
ข้อเสีย
-มีราคาแพง
-สายมีขนาดใหญ่
-ติดตั้งยาก
สายไฟเบอร์ออปติค (Fiber
optic cable)
สายไฟเบอร์ออปติค
หรือสายใยแก้วนำแสง เป็นสายที่มีลักษณะโปร่งแสง
มีรูปทรงกระบอกภายในตันขนาดประมาณเส้นผมของมนุษย์แต่มีขนาดเล็กกว่า
เส้นใยแก้วนำแสงจะเป็นแก้วบริสุทธิ์ โดยแกนกลางของเส้นใยนี้จะเรียกว่า คอร์
และจะถูกห้อมล้อมด้วยแคลดดิ้งและจากนั้นก็จะมีวัสดุที่ใช้สำหรับห่อหุ้มแคลดดิ้งหรือบัฟเฟอร์และตามด้วยวัสดุห่อหุ้มภายนอก
เครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถนำสายไฟเบอร์ออปติคมาใช้ในการส่งข้อมูลได้ซึ่งมักเรียกว่าออปติคไฟเบอร์
นอกจากสายไฟเบอร์ออปติคยังเป็นสายที่ทนต่อการรบกวนสัญญาณภายนอกได้เป็นอย่างดี
ไม่ว่าจะเป็นคลื่นความถี่วิทยุ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
รวมถึงความปลอดภัยของข้อมูลซึ่งมีความปลอดภัยสูงกว่าสายเคเบิลทั่วไป
สายไฟเบอร์ออปติคนี้จะมีอยู่หลายชนิดด้วยกันตามแต่ละคุณสมบัติ
Fiber optic cable |
ข้อดีและข้อเสียของสายไฟเบอร์ออปติค
ข้อดี
-มีอัตราค่าลดทอนของสัญญาณต่ำ
-ไม่มีการรบกวนของสัญญาณไฟฟ้า
-มีแบนด์วิดธ์สูงมาก
-มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา
-มีความเป็นอิสระทางไฟฟ้า
-มีความปลอดภัยในข้อมูล
-มีความทนทานและมีอายุการใช้งานยาวนาน
ข้อเสีย
-เส้นใยแก้วมีความเปราะบาง
แตกหักง่าย
-การเดินสายต้องระมัดระวังอย่าให้โค้งงอมาก
-มีราคาสูง
เมื่อเทียบกับสายเคเบิลทั่วไป
-การติดตั้งจำเป็นต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ
สื่อประเภทกระจายคลื่น
เป็นสื่อแบบไร้สายการรับส่งข้อมูลโดยทั่วไปจะผ่านอากาศซึ่งภายในอากาศนั้นจะมีพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแพร่กระจายอยู่ทั่วไป
โดยจะต้องมีอุปกรณ์ที่ไว้คอยจัดการกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเหล่านั้น
ซึ่งปกติแล้วจะมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน
1.แบบ Directional เป็นแบบกำหนดทิศทางของสัญญาณ
ด้วยการโฟกัสคลื่นนั้นๆ ซึ่งจำเป็นต้องทำการรับส่งด้วยความระมัดระวัง
โดยจะต้องอยู่ในระนาบเดียวกัน
2.แบบ Omnidirection เป็นการกระจายสัญญาณรอบทิศทาง
ซึ่งสัญญาณที่ส่งออกไปนั้น จะกระจายหรือแพร่ไปทั่วทิศทางในทางอากาศ
ทำให้สามารถรับสัญญาณเหล่านี้ได้ด้วยการตั้งเสาอากาศ การกระจายสัญญาณแบบรอบทิศทาง
เช่น วิทยุกระจายเสียง หรือการแพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์
ซึ่งทำได้โดยการติดตั้งสาอากาศทีวีเพื่อรับภาพสัญญาณโทรทัศน์ที่แพร่มาตามอากาศ
คลื่นวิทยุ (Radio Frequency)
FM |
การสื่อสารโดยอาศัยคลื่นวิทยุ จะกระทำโดยการส่งคลื่นไปยังอากาศเพื่อเข้าไปยังเครื่องรับวิทยุ โดยการใช้เทคนิคการกล้ำสัญญาณ ที่เรียกว่า มอดูเลต ด้วยการรวมคลื่นเสียงที่เป็นคลื่นไฟฟ้าความถี่เสียงรวมกันทำให้การสื่อสารด้วยวิทยุกระจายเสียงนั้นไม่จำเป็นต้องใช้สาย อีกทั้งยังสามารถส่งคลื่นได้ในระยะทางที่ไกลออกไปได้ตามประเภทของคลื่นนั้นๆ
ไมโครเวฟ (Terrestrial Microwave
Transmission)
คลื่นโทรทัศน์และคลื่นไมโครเวฟจะสามารถทะลุผ่านไปยังชั้นบรรยากาศไปยังนอกโลก
คลื่นโทรทัศน์จะมีช่วงความถี่ อยู่2ความถี่ที่นิยมใช้งานคือ คลื่น UHFและ
VHF สำหรับคลื่นไมโครเวฟบนพื้นโลกจะเดินทางเป็นแนวเส้นตรงในระดับสายตามิได้โค้งไปตามเปลือกโลก
ดังนั้นหากมีความต้องการส่งข้อมูลในระยะไกลออกไป
จึงจำเป็นต้องมีจานรับส่งที่ทำหน้าที่ทวนสัญญาณเพื่อส่งต่อในระยะไกลออกไปได้ ข้อเสียของสัญญาณไมโครเวฟคือ
สามารถถูกรบกวนได้ง่ายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
รวมทั้งสภาพภูมิอากาศแปรปรวนก็จะส่งผลต่อระบบการสื่อสาร
และเนื่องจากการสื่อสารด้วยไมโครเวฟบนพื้นดินนั้นจะมีข้อจำกัดเรื่องของภูมิประเทศ
เช่นภูเขาบดบังสัญญาณ ดังนั้นจึงเกิดไมโครเวฟบนฟ้า ซึ่งเรียกว่า ดาวเทียม
โทรศัพท์เซลลูลาร์(Cellular Telephone)
ยุค 1G (First-General Mobile Phone: Analog Voice) เป็นโทรศัพท์เซลลูลาร์ระบบแรกที่นำมาใช้งาน
ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณไร้สายแบบ แอนาล็อก
ยุค 2G (Second-General Mobile Phone: Digital Voice) ได้มีการพัฒนาระบบเซลลูลาร์แบบดิจิตอลขึ้น
เพื่อให้สามารถสื่อสารกันได้ทั่วโลกและเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน
ยุค 3G (Third-General Mobile Phone: Digital Voice and Data) ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารของระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์อย่างเห็นได้ชัด
โทรสัพท์ไม่ใช่แค่เพียงใช้งานเพื่อ
สื่อสารพูดคุยกันเท่านั้นแต่สามารถเข้าถึงระบบเครือข่ายได้
เช่นการเชื่อมต่อแบบไร้สายเพื่อเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เพื่อดำเนินธุกรรมบนเครือข่ายและมีแนวโน้มในอนาคตก็จะเป็นแบนด์วิดธ์ที่สูงขึ้นเพื่อเข้าสู่ยุค
4G ต่อไป
อินฟราเรด (Infrared Transmission)
แสงอินฟราเรด มักนำมาใช้ควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้า ด้วยการใช้รีโมตคอนโทรล
ลำแสงอินฟราเรดจะเดินทางในแนวเส้นตรง
สามารถสะท้อนวัตถุผิวเรียบได้ช่วงระยะเพียงไม่กี่เมตร สำหรับข้อเสียของอินฟราเรดก็คือ
แสงอินฟราเรดก็ คือ แสงอินฟราเรดไม่สามารถสื่อสารทะลุวัตถุทึบแสงหรือกำแพงที่กีดขวางได้
บลูธูท(Bluetooth)
เทคโนโลยีบลูธูท
ถูกออกแบบมาเพื่อใช้เป็นวิธีใหม่ของการเชื่อมต่อหูฟังเข้ากับเซลล์โฟนได้สะดวกยิ่งขึ้น มีข้อดี ตรงที่ลงทุนต่ำและใช้พลังงานต่ำ
มีความแตกต่างเมื่อเทียบกับการสื่อสารด้วยแสงอินฟราเรดตรงที่สามารถสื่อสารทะลุสิ่งกีดขวางหรือกำแพงได้
อีกทั้งยังเป็นการสื่อสารไร้สายด้วยการแผ่คลื่นออกเป็นรัศมีรอบทิศทางด้วยคลื่นความถี่สูง บลูธูท สามารถสื่อสารระหว่างอุปกรณ์หลายๆอุปกรณ์ด้วยกัน
เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่งพิมพ์ แฟกซ์ และรวมถึงเครื่องพีดีเอ
ข้อกำหนดความต้องการของบลูธูทได้มีการระบุไว้ว่า
- ระบบต้องสามารถนำไปใช้งานได้ทั่วโลก
- รองรับการใช้งานทั้งข้อมูลและเสียง หรือมัลติมีเดียได้
-อุปกรณ์รับส่งคลื่นสัญญาณวิทยุ จะต้องใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำและมีขนาดเล็ก
เพื่อให้สามารถนำไปบรรจุไว้ในอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่าง โทรศัพท์เคลื่อนที่ หูฟัง
หรือเครื่องพีดีเอได้
WAP (Wireless
Application Protocol)
WAP เป็นมาตรฐานสากลที่ใช้สำหรับการสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย
โดย WAP เป็นโปรโตคอลที่ใช้งานบนอุปกรณ์พกพาต่างๆจะใช้ภาษา
HTML เพื่อแสดงผลในรูปแบบของการเบราเซอร์เพื่อให้สามารถท่องไปยังอินเตอร์เน็ตได้
Wi-Fi
802.11 Wireless Lan |
มาตรฐานแรกที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางคือ 802.11b ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้สูงสุด 11 Mbps ในย่านความถี่ 2.4 GHz ที่ไม่มีใบอนุญาตและมีระยะทางที่มีประสิทธิภาพระหว่าง 30 ถึง 50 เมตร มาตรฐาน 802.11g สามารถส่งข้อมูลได้สูงสุด 54 Mbps ในช่วง 2.4 GHz 802.11n มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลผ่าน 100 Mbps เครื่องพีซีและเน็ตบุ๊คในปัจจุบันมีการสนับสนุน Wi-Fi ในตัวเช่นเดียวกับ iPhone, iPad และสมาร์ทโฟนอื่น ๆ
WiMax
ซึ่งย่อมาจาก Worldwide
Interoperability for Microwave Access เป็นคำนิยมสำหรับ IEEE Standard
802.16 มีช่วงการเข้าถึงแบบไร้สายสูงสุดถึง 31
ไมล์และความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุด 75 Mbps WiMaxantennas มีพลังมากพอที่จะเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงกับเสาอากาศบนหลังคาบ้านและธุรกิจที่อยู่ห่างออกไปโทรศัพท์มือถือและแล็ปท็อปที๋มีWiMaxcapabilities กำลังปรากฏในตลาด
Mobile WiMaxis หนึ่งในเทคโนโลยีเครือข่าย 4G
เครือข่ายเซนเซอร์ไร้สาย (Wireless
Sensor Networks: WSNs)
เป็นเครือข่ายของอุปกรณ์ไร้สายที่เชื่อมต่อกันซึ่งฝังอยู่ในสภาพแวดล้อมทางกายภาพเพื่อวัดจุดต่างๆผ่านช่องว่างขนาดใหญ่
INTERNET
- ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) เป็นองค์กรเชิงพาณิชย์ที่มีการเชื่อมต่อถาวรกับอินเทอร์เน็ตที่ขายการเชื่อมต่อชั่วคราวกับผู้ค้าปลีก
- อินเทอร์เน็ตกลายเป็นระบบการสื่อสารสาธารณะที่กว้างขวางที่สุดในโลก นอกจากนี้ยังมีการใช้งานคอมพิวเตอร์และการประมวลผลแบบไคลเอ็นต์ / เซิร์ฟเวอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกเชื่อมโยงเครือข่ายส่วนตัวนับล้าน ๆ แห่งทั่วโลก
- มีความหลากหลายของบริการสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ISP มี
- สายโทรศัพท์และโมเด็มแบบเดิมเชื่อมต่อด้วยความเร็ว 56.6 กิโลบิตต่อวินาที (Kbps) เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อที่ใช้กันโดยทั่วไปทั่วโลก แต่ได้รับการแทนที่ด้วยการเชื่อมต่อแบบบรอดแบนด์ สายสมาชิกดิจิทัล สายเคเบิล การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม และสาย T ให้บริการบรอดแบนด์เหล่านี้
- เทคโนโลยีสายสัญญาณดิจิตอล (DSL) ทำงานผ่านสายโทรศัพท์ที่มีอยู่เพื่อส่งข้อมูลเสียงและวิดีโอโดยมีอัตราการส่งข้อมูลตั้งแต่ 385 Kbps ขึ้นไปถึง 40 Mbps ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งานและระยะทาง
- การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายเคเบิลโดยผู้ให้บริการเคเบิลทีวีใช้สายเคเบิลคู่สายแบบดิจิทัลเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแก่บ้านและธุรกิจ พวกเขาสามารถให้การเข้าถึงความเร็วสูงถึง 50 Mbps แม้ว่าผู้ให้บริการส่วนใหญ่จะมีบริการตั้งแต่ 1 Mbpsto 6 Mbps ในพื้นที่ที่ไม่มีบริการ DSL และสายเคเบิลสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมได้แม้ว่าการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมบางแห่งจะมีความเร็วในการอัปโหลดช้ากว่าบริการบรอดแบนด์อื่น
- T1 และ T3 เป็นมาตรฐานโทรศัพท์ระหว่างประเทศสำหรับการสื่อสารแบบดิจิตอล เป็นสายการให้เช่าที่เหมาะสำหรับธุรกิจหรือหน่วยงานของรัฐที่ต้องการบริการระดับการรับประกันความเร็วสูง สาย T1 มีการส่งมอบที่รับประกันได้ที่ 1.54 Mbps และสาย T3 มีการส่งมอบที่ 45 Mbps
INTERNET
ADDRESSING AND ARCHITECTURE
IP Address
IP Address คือ
หมายเลขที่สามารถระบุแยกแยะความแตกต่างของเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายต่าง
ๆ ที่มีการเชื่อมต่อในเครือข่ายเดียวกัน
หรือจะเป็นการเชื่อมต่อนอกเครือข่ายก็ได้เช่นกัน อย่างที่กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่า IP Address เปรียบได้ดังเลขที่บ้านในการตั้ง
IP Address จะตั้งไม่ให้ซ้ำกันอย่างเด็ดขาด
เพราะถ้าซ้ำกันจะทำให้เกิดความสับสนในการติดต่อสื่อสารภายในเครือข่าย
ซึ่งนี่เองเลยมีหน่วยงานที่ออกมากำหนดเรื่องของการตั้งค่า IP Address ขึ้นมา
ระบบชื่อโดเมน |
Domain Name System (ระบบชื่อโดเมน)
Domain Name System (DNS) แปลงชื่อโดเมนเป็นที่อยู่ IP ชื่อโดเมนเป็นชื่อภาษาอังกฤษที่ตรงกับที่อยู่
IP แบบตัวเลข 32
บิตเฉพาะสำหรับแต่ละคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตในอนาคต: IPv6 และ
Internet2
- IPv6 (Internet Protocol version 6)
เป็นเวอร์ชันล่าสุดของ
Internet Protocol และได้รวมผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุน IP มาเป็นส่วนหนึ่งด้วย
รวมถึงระบบปฏิบัติการหลัก IPv6 ได้รับการเรียกว่า "IPng"
(IP Next Generation) โดยปกติ IPv6 เป็นกลุ่มของข้อกำหนดจาก
Internet Engineering Task Force (IETF) โดย IPv6 ได้รับการออกแบบให้ปฏิรูปกลุ่มของการปรับปรุง
IP เวอร์ชัน 4 โดย
host ของเครือข่ายและ node แบบ
intermediate ซึ่ง IPv4 หรือ
IPv6 สามารถดูแลแพ็คเกตของ IP เวอร์ชันอื่น
ผู้ใช้และผู้ให้บริการสามารถปรับรุ่นเป็น IPv6 โดยอิสระ
- Internet2
Internet2 หรือ UCAID เป็นเครือข่ายในการวิจัยที่เกิดจากการร่วมมือกันของมหาวิทยาลัย
207 แห่งในสหรัฐอเมริกา
และได้การสนับสนุนจากบริษัทไอทีชั้นนำหลายแห่ง
มีจุดประสงค์เพื่อทดลองเทคโนโลยีด้านเครือข่ายใหม่ๆ เช่น IPv6, IP multicasting
และ quality of service ก่อนจะนำมาใช้จริงในอินเทอร์เน็ต
บริการบนอินเตอร์เน็ต ( Internet Service )
- บริการอีเมล์ (E-Mail : Electronic mail) หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ คือ บริการการสื่อสารบนอินเตอร์เน็ตที่นิยมใช้กันมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง สะดวก ใช้ง่าย ประหยัด รวดเร็ว ใช้กับงานที่เป็นทางการก็ได้ ไม่เปลืองซอง กระดาษ แสตมป์ ไม่ต้องเดินหาตู้ส่งจดหมาย หรือไปรษณีย์ แนบไฟล์รูปเข้าไปได้ ปัจจุบัน ยังสามารถใส่รูปแบบตัวหนังสือ สีสันจัดหน้าสวยงาม ด้วยรูปแบบ HTML หรือเวิลด์ไวด์เว็บ ก็ได้ อีกทั้งเวิลด์ไวด์เว็บก็พัฒนารูปแบบ ให้ส่งอีเมล์ได้ด้วย เช่น ฮอทเมล์ (Hotmail),ยาฮูเมล์ (Yahoo mail), ไทยเมล์ (Thai mail), เนทแอดเดรส (net address) ฯลฯ
- บริการเทลเน็ต (Telnet) หรือการขอเข้าระบบจากระยะไกล ซึ่งเป็นบริการที่ให้เราสามารถเข้าไปใช้งานคอมพิวเตอร์ อีกเครื่องที่อยู่ไกลๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น ถ้าเราทำงานโดยใช้อินเตอร์เน็ตของโรงเรียน แล้วกลับไปที่บ้าน เรามีคอมพิวเตอร์และต่ออินเตอร์เน็ตไว้ เราก็สามารถเรียกข้อมูลจากโรงเรียน มาทำที่บ้านได้ เสมือนกับเราทำงานที่โรงเรียนนั่นเอง
- บริการการถ่ายโอนข้อมูล (File Transfer Protocol หรือ FTP) คือบริการของระบบอินเตอร์เน็ต ให้เราสามารถค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภท ตัวหนังสือ รูปภาพ และเสียง
- บริการการสืบค้นข้อมูล (Gopher, Archie, World Wide Web) คือการใช้อินเตอร์เน็ตในการสืบค้นข่าวสารต่าง ๆ เช่น การสืบค้นข้อมูลการท่องเที่ยว, การสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับวันสำคัญ,บุคคลสำคัญ, เทศกาลต่างๆ เป็นต้นซึ่งเป็นวิธีการที่ง่ายและสะดวกมาก
- บริการสื่อสารด้วยข้อความ (Chat, IRC) เป็นการพูดคุยระหว่างผู้ใช้อินเตอร์เน็ตโดยการพิมพ์ข้อความโต้ตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ได้รับความนิยม มากอีกวิธีหนึ่งในขณะนี้
- บริการซื้อ-ขายสินค้าและบริการ (E-Commerce) เป็นการจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการ เช่น การซื้อ–ขาย หนังสือคอมพิวเตอร์ บริการการท่องเที่ยว ฯลฯ และปัจจุบันมีบริษัทใช้อินเตอร์เน็ตในการทำธุรกิจบริการลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งในปี 2540 ที่ผ่านมา การค้าขายบนอินเตอร์เน็ตมีมูลค่าสูงถึง 1 แสนล้านบาท
- บริการด้านความบันเทิง (Entertain) อินเตอร์เน็ตมีการบริการด้านความบันเทิง ในรูปแบบบริการต่าง ๆ มากมาย และ
- หลากหลาย เช่น เกมส์ เพลง รายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ เป็นต้น ซึ่งเราก็สามารถเลือกใช้บริการต่าง ๆเหล่านั้นเพื่อความบันเทิงได้ตลอด 24 ชั่วโมง และจากทั่วทุกมุมโลกทั้งจากในประเทศและนอกประเทศ
- บริการ E – Learning (Electronic Learning) คือบริการทางด้าน ICT (Information and Communication Technology) เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวก ในการจัดการเรียนการสอน การถ่ายทอดความรู้ และการอบรม ต่าง ๆ
เครื่องมือสื่อสาร
- Voice over
IP
เทคโนโลยี Voice over IP (VoIP) ให้ข้อมูลเสียงในรูปแบบดิจิทัลโดยใช้การสลับแพ็คเกตหลีกเลี่ยงค่าผ่านทางที่เรียกเก็บจากเครือข่ายโทรศัพท์ในประเทศและทางไกล
- Unified
Communications
รวมช่องทางที่แตกต่างกันสำหรับการสื่อสารด้วยเสียงการสื่อสารข้อมูล, การส่งข้อความโต้ตอบแบบทันทีอีเมลและการประชุมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นประสบการณ์เดียวที่ผู้ใช้สามารถสลับไปมาระหว่างโหมดการสื่อสารต่างๆได้อย่างลงตัว
- Virtual
Private Networks (เครือข่ายส่วนตัวเสมือน)
เครือข่ายส่วนตัวเสมือน (VPN) เป็นเครือข่ายส่วนตัวที่ได้รับการเข้ารหัสลับและปลอดภัยซึ่งได้รับการกำหนดค่าภายในเครือข่ายสาธารณะเพื่อใช้ประโยชน์จากการประหยัดค่าใช้จ่ายและการบริหารจัดการเครือข่ายขนาดใหญ่เช่นอินเทอร์เน็ต
WEB
Web เป็นบริการอินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมสูงสุดสำหรับการจัดเก็บเรียกค้นการจัดรูปแบบและแสดงข้อมูลโดยใช้สถาปัตยกรรมแบบ
client / server
- เว็บไซต์คือชุดของเว็บเพจที่เชื่อมโยงกับโฮมเพจ
- เว็บเพจมีการจัดรูปแบบโดยใช้ไฮเปอร์เท็กซ์ด้วยลิงก์แบบฝังที่เชื่อมต่อเอกสารกับอีกคนหนึ่งและเชื่อมโยงเพจกับออบเจ็กต์อื่นเช่นไฟล์เสียงวิดีโอหรือแอนิเมชั่น
- Hypertext Web pages ใช้มาตรฐาน Hypertext Markup Language (HTML) ซึ่งจัดรูปแบบเอกสารและรวมลิงก์แบบไดนามิกเข้ากับเอกสารและรูปภาพอื่น ๆ ที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกันหรือจากระยะไกล
- Hypertext Transfer Protocol (HTTP) คือมาตรฐานการสื่อสารที่ใช้เพื่อถ่ายโอนข้อมูลบนเว็บ ตัวอย่างเช่นเมื่อคุณพิมพ์ที่อยู่เว็บในเบราว์เซอร์เช่น http://www.sec.gov เบราเซอร์ของคุณจะส่งคำขอ HTTP ไปยังเซิร์ฟเวอร์ sec.gov เพื่อขอหน้าแรกของ sec.gov
- Uniform Resource Locator (URL) เมื่อพิมพ์ลงในเบราว์เซอร์ URL จะบอกซอฟต์แวร์เบราเซอร์ว่าจะค้นหาข้อมูลที่ไหน ตัวอย่างเช่นใน URL http://www.megacorp.com/content/features/082610.html
- เว็บเซิร์ฟเวอร์เป็นซอฟต์แวร์สำหรับค้นหาและจัดการเว็บเพจที่เก็บไว้ ตั้งอยู่เว็บเพจที่ผู้ใช้ร้องขอบนคอมพิวเตอร์ที่เก็บและส่งเว็บเพจไปยังคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้
การค้นหาข้อมูลบนเว็บ
- Search Engines คือโปรแกรมที่ค้นหาและระบุรายการต่างๆในฐานข้อมูลที่ตรงกับคำหรือตัวอักษรที่ผู้ใช้กำหนดโดยเฉพาะที่ใช้ในการค้นหาเว็บไซต์เฉพาะบนเวิลด์ไวด์เว็บ
เครื่องมือค้นหาของวันนี้สามารถกรองไฟล์ HTML ไฟล์แอพพลิเคชัน
Microsoft Office ไฟล์ PDF รวมทั้งไฟล์เสียงวิดีโอและรูปภาพ
มีหลายร้อยเครื่องมือค้นหาที่แตกต่างกันในโลก แต่ผลการค้นหาส่วนใหญ่มาจาก Google,
Yahoo! และ Microsoft's Bing
search engine เป็นระบบซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาเพื่อค้นหาข้อมูลในเวิลด์ไวด์เว็บ
- Predictive search การค้นโดยการประมาณช่วง
หรือในบางครั้งเรียกว่า การค้นโดยการคาดการณ์ เป็นขั้นตอนวิธี (algorithm) สำหรับค้นหาค่าของคำหลัก
(key value) ที่ได้รับ (อาจได้รับจากการพิมพ์)
โดยทำการค้นหาจาก ดัชนีแถวลำดับหนึ่งๆที่ถูกจัดเรียงอย่างมีระเบียบแบบแผนแล้ว
ซึ่งวิธีนี้คล้ายกับวิธีที่เราค้นหา รายชื่อในสมุดโทรศัพท์ของโทรศัพท์มือถือ
- Social search เป็นความพยายามในการให้ผลการค้นหาที่น้อยลงมีความเกี่ยวข้องและน่าเชื่อถือมากขึ้นโดยอิงจากเครือข่ายการติดต่อทางสังคมของบุคคล
- Semantic Search เป็นเครื่องมือค้นหาที่สามารถเข้าใจภาษามนุษย์และพฤติกรรมซึ่งสร้างแบ่งปันและเชื่อมต่อเนื้อหาผ่านการค้นหาและการวิเคราะห์โดยอิงจากความสามารถในการเข้าใจความหมายของคำมากกว่าคำหรือตัวเลข
- Intelligent Agent Shopping Bots เป็นเครื่องมือเปรียบเทียบซอฟต์แวร์ราคาออนไลน์ซึ่งจะค้นหาผลิตภัณฑ์ของร้านค้าออนไลน์หลายแห่งโดยอัตโนมัติเพื่อหาราคาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับลูกค้า
- Chatbots โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จำลองบทสนทนาของมนุษย์
สามารถสื่อสาร พูดคุย ผ่านข้อความ และเสียงได้แบบ real-time โดยใช้
AI (Artificial Intelligence) หรือปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งตัวโปรแกรมเองจะ
Run อยู่บน Server ของเว็บไซต์
แอพพลิเคชั่น และ โปรแกรมแชทต่างๆ
Web 2.0
มี 4 คุณลักษณะ
1) การกำหนดการติดต่อสื่อสาร
2) การควบคุมเรียลไทม์ของผู้ใช้
3) การมีส่วนร่วมทางสังคม (ร่วมกัน)
4) การสร้างเนื้่อหาผู้ใช้
เทคโนโลยีและบริการที่อยู่เบื้องหลังคุณลักษณะเหล่านี้ ได้แก่ cloud
computing การรวมแอ็พพลิเคชันซอฟต์แวร์บล็อก RSS วิกิและเครือข่ายทางสังคม
Web 3.0
มีคุณสมบัติที่กำหนดไว้ 5 ข้อ
1) Semantic Webimproves เทคโนโลยีเว็บเพื่อสร้างความแตกต่างแบ่งปันและเชื่อมต่อเนื้อหาผ่านทางการค้นหาและวิเคราะห์ตามความสามารถในการเข้าใจความหมายของคำมากกว่าคำหรือตัวเลข
2) ปัญญาประดิษฐ์ผสมผสานความสามารถนี้เข้ากับการประมวลผลภาษาธรรมชาติในเว็บ
3.0 คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจข้อมูล เช่น มนุษย์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วและมีความเกี่ยวข้องมากขึ้น
3) กราฟิก 3D การออกแบบสามมิติถูกใช้อย่างแพร่หลายในเว็บไซต์และบริการต่างๆ
คู่มือพิพิธภัณฑ์เกมคอมพิวเตอร์อีคอมเมิร์ซบริบททางภูมิศาสตร์ ฯลฯ
4) การเชื่อมต่อข้อมูลมีการเชื่อมต่อกับข้อมูลเมตาความหมายมากขึ้น
ด้วยเหตุนี้ประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้จึงมีวิวัฒนาการไปสู่อีกระดับหนึ่งของการเชื่อมต่อที่ใช้ประโยชน์จากข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่
5) Ubiquity Content สามารถเข้าถึงได้จากแอ็พพลิเคชันหลายเครื่องอุปกรณ์ทุกชิ้นเชื่อมต่อกับเว็บบริการต่างๆสามารถใช้งานได้ทุกที่
ที่มา
: http://th.wikipedia.org
: http://www.mindphp.com
: http://www.mindphp.com
: https://sites.google.com
ความคิดเห็น